Author name: admin

ค่าลดหย่อนภาษีจากบุตรของฝ่ายชายกรณีสมรสไม่จดทะเบียน

ในช่วงที่ผมทำการนำพนักงานใหม่เข้าระบบ payroll ของทางบริษัท สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าอักขระความถูกต้องของตัวอักษร หรือเลขที่บัญชี ก็คือข้อมูลการลดหย่อนภาษี ผมมักจะถูกถามเสมอครับว่าการที่พนักงานฝ่ายชาย เลือกสถานะการสมรสว่า “สมรสไม่จดทะเบียน” แล้วใส่ข้อมูลว่ามีบุตรกำลังศึกษาอยู่ ในกรณีนี้ฝ่ายชายสามารถนำบุตรมาหักลดหย่อยภาษีได้หรือไม่ เหมือนเดิมครับผมข้ออ้างอิงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการตอบคำถามข้อนี้ดังนี้ครับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และ 1547 บัญญัติไว้ว่า—- มาตรา 1546  เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น มาตรา 1547 บัญญัติว่า ” เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้มีการสมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง  หรือ  บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร น่าจะชัดแล้วนะครับ มาตรา 1546 ให้คำตอบเราได้ชัดเลยครับว่า ฝ่ายชายนั้นไม่มีสิทธิ์จะนำบุตรไปลดหย่อนภาษี ในกรณีสมรสไม่จดทะเบียนนะครับ (เพราะถือว่าไม่ได้เป็นบุตรที่ชอบธรรมโดยกฎหมายครับ) ยกเว้น….ดูมาตรา 1547 กันต่อคับ …จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ มีการจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนรับรองการเป็นบุตร….อันนี้ก็ต่างกับฝ่ายหญิงนะครับ ถึงแม้สมรสไม่จดทะเบียนก็สามารถนำบุตรมาหักลดหย่อนภาษีได้ครับ 🙂 ส่วนการลดหย่อนบุตรได้ 15,000 หรือ 17,000 บาท (กรณีบุึตรศึกษาอยู่) สามารถหารายละเีอียดได้ที่ link ของกรมสรรพากรครับ http://www.rd.go.th/publish/557.0.html […]

ค่าลดหย่อนภาษีจากบุตรของฝ่ายชายกรณีสมรสไม่จดทะเบียน Read More »

นิติบุคคลต่างประเทศ กับการจ่าย ภ.ง.ด 1 ครั้่งแรก.. “ไม่เจอบริษัทเราในระบบของกรมสรรพากร”

สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงของงานบุคคลยิ่งมีพนักงานเป็นชาวต่างชาติ คงวุ่นวายพอสมควรกับคำว่า Work Permit เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าสู่กันฟังวันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่อง Work Permit ของพนักงานต่างชาติสักทีเดียวครับ แต่เป็นเรื่องที่ผมต้องรีบไปยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของพนักงานที่คนต่างชาติคนนี้เป็นกรรมการบริษัทอยู่เพื่อที่จะใช้ขอ Visa และ Work permit (การที่เค้าจะได้ Visa และ Workpermit 1 ปี ผมต้องเตรียมหลักฐานการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมและหลักฐานการชำระเงินภาษีหักณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1 ของพนักงานในบริษัท) สิ่งที่เกิดขึ้นคือหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรซึ่งปกติ ถ้าเป็นบริษัทนิติบุคคลในประเทศ ก็จะเป็นหมายเลขเีดียวกับเลขทะเบียนในหนังสือรับรองบริษัท (รูปที่ 1) ผมเตรียมฟอร์ม ภ.ง.ด. 1 อย่างดี รีบไปยื่นที่สรรพากรพื้นที่ พร้อมกับคิดในใจว่าบริษัทเพิ่งจดทะเบียนนายจ้างเสร็จหมาด ๆ มันจะมีปัญหาอะไรไหมหนอ…แต่ก็ไม่น่าจะมีหนิ อันนี้มันเรื่องภาษี ไม่เกี่ยวกับประกันสังคม ทันใดนั้นพี่ที่สรรพากรก็บอกผมว่า น้องครับ เลขผู้เสียภาษีอากรที่น้องใส่มามันไม่ถูกนะครับ หาไม่เจอในระบบนะครับ ผมโทรกลับไปเช็คที่บริษัทเพราะเลขที่ใส่ในฟอร์มอาจพิมพ์ผิดก็ได้ แต่เมื่อเช็คแล้วก็ไม่ผิด พี่ที่สรรพากรจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า เลขที่ได้นั้นยังไม่ Sync เข้ากับระบบของกรมสรรพากรเนื่องจากเป็นนิติบุคคลต่างชาติ พี่เค้าก็ใจดีครับติดต่อสรรพากรพื้นที่ที่รับผิดชอบจึงได้ข้อมูลว่าบริษัทนี้ต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมซึ่งมีรายละเีอียดดังนี้ครับ 1. กรอกฟอร์ม

นิติบุคคลต่างประเทศ กับการจ่าย ภ.ง.ด 1 ครั้่งแรก.. “ไม่เจอบริษัทเราในระบบของกรมสรรพากร” Read More »

การคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีทำงานไม่เต็มเดือน (Prorated Salary)

มีพนักงานหลายท่านทีเดียวครับ โทรมาสอบถามว่าในการคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีที่พนักงานไม่ได้เริ่มงานต้นเดือนเวลาคิดเงินเดือนนั้นตัวหารที่ใช้เนี้ย ถ้าให้ถูกต้องจริง ๆ ต้องหารด้วยจำนวนวันจริง ๆ ในเดือนนั้นหรือหารด้วย 30 เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ผมขอนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 68 มาเป็นบทเทียบเคียงนะครับ มาตรา 68: เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้่างต่อชั่วโมงในวันทำงานหมายถึงค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย เช่นสมมุติว่านางสาวเกรซเริ่มงานที่บริษัท Together ในวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ด้วยเงินเืดือนที่ระบุในสัญญาจ้างคือ 30,000 บาทต่อเดือน และบริษัทให้ค่าสึกหรอรถยนต์ รวมถึงค่าโทรศัพท์ เป็นจำนวนเงิน 9,000 และ 500 บาท ตามลำดับ การที่จะหาเงินได้ก่อนหักค่านู้นนี่ (เงินสมทบประกันสังคม, ภาษีเงินได้ และค่าอื่น  ๆ ) ตัวที่จะนำมาคูณก็คือ จำนวนวันทำงานทั้งหมดในเดือนสิงหาคมหารด้วย 30 ซึ่งในกรณีนี้จะเท่ากับ 27/30 ดังนั้นนางสาวเกรซจะมีเงินเืดือน 27,000 บาท, ค่าสึกหรอรถ 8,100 บาท และค่าโทรศัพท์ 450 บาท

การคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีทำงานไม่เต็มเดือน (Prorated Salary) Read More »

ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องร้อนทีเดียวครับ (ร้อนมาสักพักใหญ่ละ ยังไม่สรุปสักที) เกี่ยวกับอัตราภาษีที่จะใช้ในปีภาษี 2556 ในแง่มุมของประโยชน์ของอัตราใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือนรวมถึงที่มาที่ไปกว่าจะได้อัตราคำนวณใหม่นั้นในแง่การบัญญัติกฎหมายเค้าทำกันอย่างไรครับ เป็นเรื่องที่น่าดีใจเมื่อได้ยินเรื่องการปรับตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2556 (ยื่นภายใน 31 มีนาคม2557) เนื่องจากอัตราภาษีใหม่นั้นมีการถ่างช่วงการคิดภาษีออกซึ่งช่วงที่ถ่างออกจะทำำให้เราเสียภาษีในจำนวนที่ลดลง ขออนุญาตนำรูปมากจาก “บล็อกภาษีข้างถนน” (http://tax.bugnoms.com/) เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นนะครับ เช่น รายได้สุทธิ 150,001-500,000 บาท ของเดิมเสียภาษีทั้งก้อนของเงินในช่วงนี้อยู่ 10% แต่อัตราใหม่ มีการแบ่งช่วง 150,001-300,000 บาท เสียภาษี แค่ 5% และที่เหลือในช่วงเสีย 10% ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลของมนุษย์เงินเดือนรวมถึงคนทำเงินเดือนอย่างข้าพเจ้า 🙂 เป็นต้นว่าเมื่อไหร่เจ้าอัตราภาษีใหม่นี้จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เพราะดูเหมือนว่าความล่าช้าอันนี้มีแต่ก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ถ้าประกาศทันใช้ กรมสรรพกรก็คงทำงานหนักทีเดียวกับการขอคืนภาษีในช่วงยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ประจำปีเนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ยังหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยใช้อัตราเก่าอยู่ ในขณะเดียวกันผมมั่นใจว่ามีหลายบริษัทที่หลงทิศทางไปใช้อัตราใหม่ไปแล้ว หากประกาศไม่ทันใช้ในปีภาษี 2556 ….นึกไม่ออกจริง ๆ ว่าผู้บริหารทั้งหลายที่เงินเดือนเยอะ ๆ แล้วใช้อัตราภาษีใหม่ไปแล้ว แต่สุดท้ายประกาศใช้ไม่ทันจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มอีกเท่าไหร่ 🙁 ความรู้ที่ต้องการมาเล่าสนุก ๆ

ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556 Read More »

สิทธิ์จากประกันสังคมเนื่องจากการว่างานและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

ระหว่างกำลังจัดเตรียมข้อมูลการออกเงินเดือนให้พนักงาน ก็ได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนที่อยู่ในแวดวง HR ถามว่าทำอย่างไรดี ถ้าแจ้งเหตุผลการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนในแบบฟอร์ม  สปส 6-09 ผิด ผมจึงถามต่อว่าแล้วเอรู้ได้ไงว่าแจ้งผิดอะ เอบอกกว่า พนักงานจะไปขอใช้สิทธิ์กรณีว่างานจากทางประกันสังคมแต่ไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากในระบบแจ้งว่า ตอนส่งแบบฟอร์ม เหตุผลการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนคือ “ไล่ออก/ปลดออก/ให้ออก เนื่องจากกระทำความผิด” แทนที่จะเป็น “เลิกจ้าง”  (ใครจำฟอร์มไม่ได้ลอง google โหลดดูได้ครับ) สิทธิ์การว่างานจะใช้ได้เมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลาโดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย ผมจึงถามคร่าว ๆ ว่าผิดได้อย่างไรเพื่อที่จะป้องกันการเกิดเหตุอย่างนี้อีก ปรากฏว่าเป็น Human error ไม่ได้เป็นความผิดอะไรที่ระบบ ดังนั้นใครมีหน้าที่แจ้งเข้า/ออก แต่ละบริษัทก็เลือกกันให้ถูก คุยกันให้ชัดกับ Line manager หรือคนที่มีหน้าที่ตัดสินใจเอาคนออกนะครับ จะได้ไม่เกิดความผิดพลาดอีก คราวนี้วิธีแก้ที่ได้ปรึกษากับทางประกันสังคมคือ ให้นายจ้างทำหนังสือชี้แจงยื่นกับสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ที่รับผิดชอบของสถานประกอบการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการแก้ไขข้อมูลให้ ย้ำนะครับ ประกันสังคมเขตพื้นที่ ที่รับผิดชอบของบริษัทนะครับ จะไปเขตอื่นไม่ได้นะครับ  หนังสือชี้แจงก็ชี้แจงให้ทางประกันสังคมเข้าใจ แล้วถ้าให้ดีนะครับ ทำฟอร์มแจ้งออกตัวที่ถูกต้องแนบไปด้วยนะครับ ส่วนสิทธิกรณีว่างาน จะได้สิทธิ์นี้นอกจากเงื่อนไขข้างต้น ก็มีเงื่อนไขอีกพอสมควรเลยครับ เช่นต้องส่งเงินสมทบ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานและต้องขึ้นทะเบียนว่างานภายใน 30

สิทธิ์จากประกันสังคมเนื่องจากการว่างานและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น Read More »

หนังสือเตือน….อายุของหนังสือเตือนและความสำคัญ

คราวที่แล้ว พี่สายสมรจากบริษัทจำหน่ายเสื้อชั้นในได้ถามถึงกรณีการออกหนังสือเตือน หรือบางท่านเรียกว่า warning letter ว่าการออกต้องออกอย่างไรแล้วมีความสำคัญอย่างไร วันนี้ ผมขอนำพระราชบัญญัติแรงงาน ฯ ที่เกี่ยวข้อง มาเล่าให้ฟังคร่าว ๆ นะครับ โดยภาพรวมแล้วเรื่องหนังสือเตือนมีความเกี่ยวพันกับเรื่องการเลิกจ้างนะครับ แบบว่าเตือนแล้วเจ้าอย่างทำผิดอีก ดังนั้นข้าเชิญให้เจ้าออกจากงานได้ โดยที่ข้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อกำหนดพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 118 การทำผิดข้อบังคับของบริษัทในกรณีไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องให้โอกาสลูกจ้างปรับปรุงตนเองก่อนโดยการออกเป็นหนังสือเตือน ถ้าหากลูกจ้างยังคงทำผิดซ้ำความผิดเดิมในหนังสือเตือนอยู่ ถึงแม้จะเป็นความผิดเล็กน้อยนายจ้างก็สามารถให้ลูกจ้างออกจากงานได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าจะอ้างอิงกันถึงมาตราก็จะเป็นมาตรา 119 (4) กล่าวไว้ประมาณนี้ครับ “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างทำผิดกฎและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว และหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด”  โดยรายละเอียดของหนังสือเตือนต้องระบุถึงระเบียบหรือข้อบังคับที่ลูกจ้างกระทำผิด รวมถึงข้อควมตักเตือน ลงลายมือชื่อของนายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับหนังสือเตือน มีลูกจ้างบางคนไม่ยอมเซ็นต์ชื่อในหนังสือเตือน สิ่งที่นายจ้างต้องทำก็คืออ่านให้พยานฟัง และให้พยานลงชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย ก็ประมาณนี้นะครับ กฏหมายเค้าก็ดูแลลูกจ้างเป็นอย่างดีครับ ผู้ที่เป็นนายจ้างจะทำอะไรก็ต้องงัดข้อกฎหมายมาปฏิบัติ เพื่อป้องกันข้อฟ้องร้องในภายหลังครับ

หนังสือเตือน….อายุของหนังสือเตือนและความสำคัญ Read More »

เมื่อลูกจ้างขโมยของบริษัทไปขาย แต่นายจ้างไม่ไล่ออก แต่จะหักเงินแทน

คุณพี่สายสมรจากบริษัทจำหน่ายเสื้อชั้นในบริษัทหนึ่งในประเทศไทยโทรมาเพื่อระบายอารมณ์ ในขณะเดียวกันก็ขอคำแนะนำว่า คุณพี่ควรจะทำอย่างไรดีค่ะ เมื่อจับได้ว่าพนักงานแอบขโมยเสื้อชั้นในไปขายในตลาดแบกะดิน จากประสบการณ์ในกรณีนี้เข้าข่ายทุจริต และทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 พี่สายสมรสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 อืม…พี่เองก็ไม่อยากทำลายอนาคตเด็กมันอะนะ เอางี้ ถ้าพี่จะหักเงินเด็กเพื่อเป็นการชดใช้ได้หรือไม่ ผมนึกสักพักแล้วก็นึกถึง พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 76 และ 77 มาตรา 76 มีใจความหลัก ๆ ว่า (หาอ่านมาตรานี้เต็ม ๆ กันเองนะคับ) นายจ้างห้ามหักตังค์ลูกจ้าง ยกเว้นเป็นการหักค่า 1) ภาษีเงินได้ 2) ค่าบำรุงสหภาพแรงงาน 3) ชำระหนี้สหกรณ์ (ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง) 4) เงินประกันค่าชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาท 5) เงินกองทุนสะสม ข้อ 2-5 ห้ามหักเกิน 10% ของแต่ละกรณี และหักรวมกันไม่เกิน 20% ของเงินที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือน (เงินในมาตรา 70) เว้นเสียแต่ว่าได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง มาตรา 77: กล่าวโดยย่อคือ ถ้าจะหักต้งค์

เมื่อลูกจ้างขโมยของบริษัทไปขาย แต่นายจ้างไม่ไล่ออก แต่จะหักเงินแทน Read More »

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (3)

มาว่ากันต่อในเรื่องสิทธิประโยชน์ของการเป็นผู้ประกันตนกับระบบประกันสังคมของประเทศไทยกันต่อครับ ในมุมของผมเองและลูกจ้างทั้งหลาย เราค่อนข้างคุ้นกับกองทุนประกันสังคมนะครับ ถ้าให้ชัด ๆ ก็คือเงินที่เราต้องจ่ายสมทบทุกเดือน (ฐานเงินเดือนที่ใช้คิดก็คือ 1,650 – 15,000 บาท)  ปี 2556 นี้ผู้ประกันตนและนายจ้างต้องจ่ายสบทบฝ่ายละ 4% ครับ ในส่วนของกองทุนทดแทนเรา  ๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นกันครับจนกว่าจะเกิดเรื่องขึ้นมา เงินกองทุนทดแทนนั้น เป็นเงินที่ทางนายจ้างต้องจ่ายสมทบให้กับกองทุนเงินทดแทนมากน้อยตามความเสี่ยงของธุรกิจ  (ลูกจ้างไม่ต้องสมทบนะครับ) ขอระบุให้ชัด ๆ นิดนึงครับว่าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 นะครับ มาตรา 40 ไว้มีโอกาสผมจะมา touch base ให้อีกทีครับ เห็นเค้าใช้กันแล้วดูดีครับ 555 คำว่า touch base แปลว่าอะไรผมก็ไม่รู้นะครับ ส่วนความแตกต่างของผู้ประกันตนของแต่ละมาตราสามารถดูรายละเอียดจากลิงค์ของผู้รู้ท่านอื่นที่ผมจะแนบไว้ให้ครับ ผมเจอสรุปที่ทางประกันสังคมทำไว้แล้วครับ ขออนุญาตแชร์เลยนะครับ แต่นิดนึงนะครับ ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะไม่มีสิทธิ์ได้รับสิทธิ์ในเรื่องการว่างงานนะครับ จะเห็นว่านอกจากผลประโยชน์ที่จะได้จะเป็นเรื่องที่สำคัญ อีกเรื่องที่สำคัญคือเงื่อนไขเพื่อให้ได้สิทธิ์ประโยชน์นั้น ๆ ครับ เช่น การที่จะได้รับสิทธิ์การค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ผู้ประกันตนนั้นต้องจ่ายเงินสมทบ

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (3) Read More »

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (2)

ก็ตามที่ผมบอกไว้นะครับ วันนี้ผมเอาแบบฟอร์มมาฝากนะครับ มีทั้งหมด 3 แบบฟอร์ม ก่อนที่จะลงรายละเอียดกัน ผมขอทวนข้อกำหนดทางกฎหมายอีกทีครับ ว่าในการแจ้งเข้าพนักงาน ต้องทำการแจ้งภายใน 30 วันหลังจากการจ้างงานวันแรก ในขณะที่การแจ้งออกต้องแจ้งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดมานะครับ แต่อย่างที่ผมบอกครับ บางทีเค้ารับฟอร์มที่เราเอาไปยื่นเค้าก็ไม่ได้ทำการบันทึกเข้าระบบในทันทีครับ โอเคมาดูวัตถุประสงค์การใช้ฟอร์มกันดีกว่าครับ สปส 1-03 ใช้กับพนักงานที่ยังไม่เคยมีบัตรประกันสังคมมาก่อนครับ จะเข้าระบบประกันสังคมก็ต้องกรอกฟอร์มนี้ครับ   สปส 1-03/1 ใช้กับพนักงานที่เคยมีบัตรประกันสังคมแล้ว หลัก ๆ แล้วก็กรอกหมายเลขบัตรประจำประชาชน, ชื่อและวัน เดือน ปี เข้าทำงานให้ถูกครับ ส่วนอีก 2 ช่องทางขวา ทางประกันสังคมเค้าไม่ค่อย strict ครับ ไม่ต้องกรอกก็ได้   สปส 6-09 ใช้กับพนักงานที่ลาออกจากบริษัท  แจ้งภายในวันที่ 15 ชองเดือนถัดไปครับ  ฟอร์มนี้ข้อมูลที่สำคัญในการกรอกคือสาเหตุของการลาออกครับ ต้องเลือกว่าเป็น 1,2,…7 ผมเคยโดนตีกลับด้วยครับ ลืมเลือกให้พนักงาน ใบรับแบบ อันนี้สำคัญสุด เมื่อไปยื่นเอกสารอะไรให้ทางประกันสังคมอย่าลืมทวงไปรับแบบนะครับ เพราะเราจะเห็นว่าข้อมุลไม่ได้ถูกบันทึกไว้ทันทีครับ

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (2) Read More »

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน

จำไม่ได้แล้วเหมือนกันว่าผมเริ่มงานเกี่ยวกับการทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือนเมื่อไหร่ แต่ที่ผมรู้สึกได้ก็คืองานนี้เป็นงานที่สนุกแล้วก็ได้ความรู้ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งความรู้นั้นก็คือความรู้เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้, ประกันสังคม รวมถึงกฏหมายแรงงาน ผมมีความรู้เป็นศูนย์ แถมติดลบด้วยซ้ำไปเพราะผมมีลักษณะเหมือนหลาย ๆ คนคือ ได้ payslip มาไม่เคยเปิดดู, ภาษีก็ให้แฟนยื่นให้ 555 ผมเลยมึนอย่างเปิดเผยในการทำงานวันแรก วันนี้ผมขอแชร์ประสบการณืเกี่ยวกับประกันสังคมรึกันนะ ผมเพิ่งรู้ว่า ตามกฏของประกันสังคมนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องจดทะเบียนนายจ้างและต้องแจ้งลูกจ้างคนนั้นให้เป็นผู้ประกันตนภายใต้บริษัทภายใน 30 วันหลังจากลูกจ้างเริ่มงานวันแรก ปัญหามันมีอยู่ว่า บางทีกว่าจะขึ้นทะเบียนนายจ้างเสร็จก็เกิน 30 วันเข้าไปแล้ว ทำไงดีหละ วิธีที่ผมเค้าทำกันก็คือ ทำจดหมายขอผ่อนผันกับประกันสังคม เพื่อจะได้ไม่โดนปรับจากการขึ้นทะเบียนลูกจ้างไม่ทัน 30 วันหลังจากวันเริ่มทำงานวันแรก  แต่อันนี้เท่าที่นายแอบมึนเห็นก็คือเมื่อเราแจ้งเข้า หรือแจ้งออกพนักงาน ทางประกันสังคมเค้าไม่ได้นำข้อมูลเข้าระบบทันที  ซึ่งมันก็มีข้อดีตรงที่ว่าเค้าก็ไม่ค่อยปรับนะ กรณีแจ้งเกิน 30 วันเพราะบางที่ที่มันเกินกำหนดก็เพราะทางเค้านำข้อมูลเข้าระบบไม่ทัน เมื่อดีลงานกับราชการ แบบฟอร์มเป็นเรื่องสำคัญ บางที่ทำแบบฟอร์มของเราไปเองรูปร่างหน้าตาคล้ายฟอร์มของประกันสังคมเป๊ะ โดนเด้งกลับก็มี เช่นใบมอบอำนาจเป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ใช้ฟอร์มที่เค้าให้มาดีกว่า ในเรื่องการแจ้งเข้าพนักงานนั้น แบบฟอร์มที่ใช้คือ สปส 1-03 หรือ สปส 1-03/1 สำหรับการแจ้งออกมีฟอร์มเดียวคือ สปส

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน Read More »

en_USEnglish
Scroll to Top