มาตรา 119

หากไม่ได้ทำผิด นายจ้างไม่มีสิทธิ์ “ไล่เราออก” แต่ “เลิกจ้าง” เราได้

เพื่อนที่ทำงานเก่า ได้เล่าเรื่องในสถานที่ทำงานของเค้าให้ฟังว่า มีอยู่วันหนึ่งนายของเค้าได้เรียกพนักงานท่านหนึ่งเข้าไปในห้องแล้วยื่นเอกสารให้ 2 ฉบับ ใช่ครับเป็นอย่างที่ทุกท่านคิดครับ ฉบับแรกคือ จดหมายรับรองการทำงาน ฉบับที่สองคือจดหมายไล่ออก…..พวกเราหากไม่เคยอยู่ในสถานการณ์นี้ และยิ่งหากไม่ได้ศึกษาเรื่องกฎหมายแรงงาน ผมว่าเราตั้งตัวกันไม่ติดเหมือนกันนะครับ ลองมาดูกันครับ เราควรทำอย่างไรหากคน ๆ นั้นเป็นเราเอง เจ้านายเริ่มพูดว่า ดิฉันก็จ้างคุณมาค่าตัวแพงอยู่นะ แต่ผลงานคุณมันไม่คุ้มกับเงินที่บริษัทเราจ้างคุณจริง ๆ คุณไม่เหมาะกับงานอย่างนู้นอย่างนี้ บลา บลา บลา ดังนั้นคุณเลือกเอารึกันว่าจะลาออกเองแล้วบริษัทจะให้ใบผ่านงาน หรือจะให้บริษัทไล่คุณออก แล้วเสียประวัติการทำงาน โดยสรุปพนักงานท่านนั้นก็เลือกที่จะลาออกเองเพราะเท่าทีฟังดูพนักงานท่านนี้ก็พอจะสังเกตได้ว่านายคนนี้บางทีก็พูดแปลก ๆ กลางที่ประชุม รวมถึงได้มีพนักงานออกก่อนเค้า 2-3 ท่าน ซึ่งก็ถูกนายจ้างคนนี้กระทำคล้าย ๆ กัน จากประสบการณ์ของผม ผมว่านายจ้างคนนี้เค้าลืม (หรือตั้งใจลืม) อะไรไปอย่างรึเปล่าครับ??? ลูกจ้างทำความผิดอะไรถึงมีสิทธิ์ที่จะไล่เค้าออก??? มาดูพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 119 กันครับ มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง […]

หากไม่ได้ทำผิด นายจ้างไม่มีสิทธิ์ “ไล่เราออก” แต่ “เลิกจ้าง” เราได้ Read More »

หนังสือเตือน….อายุของหนังสือเตือนและความสำคัญ

คราวที่แล้ว พี่สายสมรจากบริษัทจำหน่ายเสื้อชั้นในได้ถามถึงกรณีการออกหนังสือเตือน หรือบางท่านเรียกว่า warning letter ว่าการออกต้องออกอย่างไรแล้วมีความสำคัญอย่างไร วันนี้ ผมขอนำพระราชบัญญัติแรงงาน ฯ ที่เกี่ยวข้อง มาเล่าให้ฟังคร่าว ๆ นะครับ โดยภาพรวมแล้วเรื่องหนังสือเตือนมีความเกี่ยวพันกับเรื่องการเลิกจ้างนะครับ แบบว่าเตือนแล้วเจ้าอย่างทำผิดอีก ดังนั้นข้าเชิญให้เจ้าออกจากงานได้ โดยที่ข้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อกำหนดพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 118 การทำผิดข้อบังคับของบริษัทในกรณีไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องให้โอกาสลูกจ้างปรับปรุงตนเองก่อนโดยการออกเป็นหนังสือเตือน ถ้าหากลูกจ้างยังคงทำผิดซ้ำความผิดเดิมในหนังสือเตือนอยู่ ถึงแม้จะเป็นความผิดเล็กน้อยนายจ้างก็สามารถให้ลูกจ้างออกจากงานได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าจะอ้างอิงกันถึงมาตราก็จะเป็นมาตรา 119 (4) กล่าวไว้ประมาณนี้ครับ “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างทำผิดกฎและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว และหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด”  โดยรายละเอียดของหนังสือเตือนต้องระบุถึงระเบียบหรือข้อบังคับที่ลูกจ้างกระทำผิด รวมถึงข้อควมตักเตือน ลงลายมือชื่อของนายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับหนังสือเตือน มีลูกจ้างบางคนไม่ยอมเซ็นต์ชื่อในหนังสือเตือน สิ่งที่นายจ้างต้องทำก็คืออ่านให้พยานฟัง และให้พยานลงชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย ก็ประมาณนี้นะครับ กฏหมายเค้าก็ดูแลลูกจ้างเป็นอย่างดีครับ ผู้ที่เป็นนายจ้างจะทำอะไรก็ต้องงัดข้อกฎหมายมาปฏิบัติ เพื่อป้องกันข้อฟ้องร้องในภายหลังครับ

หนังสือเตือน….อายุของหนังสือเตือนและความสำคัญ Read More »

เมื่อลูกจ้างขโมยของบริษัทไปขาย แต่นายจ้างไม่ไล่ออก แต่จะหักเงินแทน

คุณพี่สายสมรจากบริษัทจำหน่ายเสื้อชั้นในบริษัทหนึ่งในประเทศไทยโทรมาเพื่อระบายอารมณ์ ในขณะเดียวกันก็ขอคำแนะนำว่า คุณพี่ควรจะทำอย่างไรดีค่ะ เมื่อจับได้ว่าพนักงานแอบขโมยเสื้อชั้นในไปขายในตลาดแบกะดิน จากประสบการณ์ในกรณีนี้เข้าข่ายทุจริต และทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 พี่สายสมรสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 อืม…พี่เองก็ไม่อยากทำลายอนาคตเด็กมันอะนะ เอางี้ ถ้าพี่จะหักเงินเด็กเพื่อเป็นการชดใช้ได้หรือไม่ ผมนึกสักพักแล้วก็นึกถึง พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 76 และ 77 มาตรา 76 มีใจความหลัก ๆ ว่า (หาอ่านมาตรานี้เต็ม ๆ กันเองนะคับ) นายจ้างห้ามหักตังค์ลูกจ้าง ยกเว้นเป็นการหักค่า 1) ภาษีเงินได้ 2) ค่าบำรุงสหภาพแรงงาน 3) ชำระหนี้สหกรณ์ (ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง) 4) เงินประกันค่าชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาท 5) เงินกองทุนสะสม ข้อ 2-5 ห้ามหักเกิน 10% ของแต่ละกรณี และหักรวมกันไม่เกิน 20% ของเงินที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือน (เงินในมาตรา 70) เว้นเสียแต่ว่าได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง มาตรา 77: กล่าวโดยย่อคือ ถ้าจะหักต้งค์

เมื่อลูกจ้างขโมยของบริษัทไปขาย แต่นายจ้างไม่ไล่ออก แต่จะหักเงินแทน Read More »

en_USEnglish
Scroll to Top