Silhouette Photography of Group of People Jumping during Golden Time

Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) พนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจัดตั้งได้

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คำถามที่ผมมักได้ยินบ่อย ๆ คือ ต้องมีจำนวนพนักงานขั้นต่ำกี่คน บริษัทจึงสามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้  ก่อนจะไปถึงตรงนั้นผมขออธิบายคร่าว ๆ นะครับเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบครับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม“และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ “ (ลูกจ้างออมเงินเท่าไร นายจ้างช่วยเติมเงินให้ในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายเสมอ)  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “ หลักการในการสะสมและสมทบเงิน เงินสะสมของลูกจ้าง เป็นเงินที่ลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหักจากค่าจ้างสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง เงินสมทบของนายจ้าง เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก โดยอัตราสมทบต้องไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้างบางบริษัทใช้เรื่องของกองทุนในการรักษาพนักงานไว้กับบริษัทโดยการกำหนดเวลาการทำงานขั้นต่ำที่ต้องอยู่กับบริษัทเพื่อให้ได้เงินสมทบในส่วนของนายจ้าง โดยทั่วไปที่พบคือต้องอยู่ครบ 5 ปี (อันนี้แล้วแต่กองทุนนะครับ) ปล. ข้อบังคับกองทุนอาจระบุถึงเหตุที่จะทำให้สมาชิกหมดสิทธิได้รับเงินสมทบและผลตอบแทนจากเงินสมทบได้ด้วย เช่น การลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน  การที่ลูกจ้างทุจริตต่อนายจ้าง  หรือทำให้นายจ้างเสียหายด้วยความจงใจหรือด้วยความประมาทเลินเล่อ กลับมาถึงคำถามว่า จำเป็นต้องมีพนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจะตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นมาได้ ก็ตอบได้เลยว่าพนักงานขั้นต่ำเพียง 1 ท่านก็ตั้งกองทุนได้แล้วครับโดยอ้างอิงจากมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 “มาตรา 5 […]

Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) พนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจัดตั้งได้ Read More »