หากไม่ได้ทำผิด นายจ้างไม่มีสิทธิ์ “ไล่เราออก” แต่ “เลิกจ้าง” เราได้
เพื่อนที่ทำงานเก่า ได้เล่าเรื่องในสถานที่ทำงานของเค้าให้ฟังว่า มีอยู่วันหนึ่งนายของเค้าได้เรียกพนักงานท่านหนึ่งเข้าไปในห้องแล้วยื่นเอกสารให้ 2 ฉบับ ใช่ครับเป็นอย่างที่ทุกท่านคิดครับ ฉบับแรกคือ จดหมายรับรองการทำงาน ฉบับที่สองคือจดหมายไล่ออก…..พวกเราหากไม่เคยอยู่ในสถานการณ์นี้ และยิ่งหากไม่ได้ศึกษาเรื่องกฎหมายแรงงาน ผมว่าเราตั้งตัวกันไม่ติดเหมือนกันนะครับ ลองมาดูกันครับ เราควรทำอย่างไรหากคน ๆ นั้นเป็นเราเอง เจ้านายเริ่มพูดว่า ดิฉันก็จ้างคุณมาค่าตัวแพงอยู่นะ แต่ผลงานคุณมันไม่คุ้มกับเงินที่บริษัทเราจ้างคุณจริง ๆ คุณไม่เหมาะกับงานอย่างนู้นอย่างนี้ บลา บลา บลา ดังนั้นคุณเลือกเอารึกันว่าจะลาออกเองแล้วบริษัทจะให้ใบผ่านงาน หรือจะให้บริษัทไล่คุณออก แล้วเสียประวัติการทำงาน โดยสรุปพนักงานท่านนั้นก็เลือกที่จะลาออกเองเพราะเท่าทีฟังดูพนักงานท่านนี้ก็พอจะสังเกตได้ว่านายคนนี้บางทีก็พูดแปลก ๆ กลางที่ประชุม รวมถึงได้มีพนักงานออกก่อนเค้า 2-3 ท่าน ซึ่งก็ถูกนายจ้างคนนี้กระทำคล้าย ๆ กัน จากประสบการณ์ของผม ผมว่านายจ้างคนนี้เค้าลืม (หรือตั้งใจลืม) อะไรไปอย่างรึเปล่าครับ??? ลูกจ้างทำความผิดอะไรถึงมีสิทธิ์ที่จะไล่เค้าออก??? มาดูพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 119 กันครับ มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง […]
หากไม่ได้ทำผิด นายจ้างไม่มีสิทธิ์ “ไล่เราออก” แต่ “เลิกจ้าง” เราได้ Read More »