กรกฎาคม 2013

สิทธิ์จากประกันสังคมเนื่องจากการว่างานและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

ระหว่างกำลังจัดเตรียมข้อมูลการออกเงินเดือนให้พนักงาน ก็ได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนที่อยู่ในแวดวง HR ถามว่าทำอย่างไรดี ถ้าแจ้งเหตุผลการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนในแบบฟอร์ม  สปส 6-09 ผิด ผมจึงถามต่อว่าแล้วเอรู้ได้ไงว่าแจ้งผิดอะ เอบอกกว่า พนักงานจะไปขอใช้สิทธิ์กรณีว่างานจากทางประกันสังคมแต่ไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากในระบบแจ้งว่า ตอนส่งแบบฟอร์ม เหตุผลการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนคือ “ไล่ออก/ปลดออก/ให้ออก เนื่องจากกระทำความผิด” แทนที่จะเป็น “เลิกจ้าง”  (ใครจำฟอร์มไม่ได้ลอง google โหลดดูได้ครับ) สิทธิ์การว่างานจะใช้ได้เมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลาโดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย ผมจึงถามคร่าว ๆ ว่าผิดได้อย่างไรเพื่อที่จะป้องกันการเกิดเหตุอย่างนี้อีก ปรากฏว่าเป็น Human error ไม่ได้เป็นความผิดอะไรที่ระบบ ดังนั้นใครมีหน้าที่แจ้งเข้า/ออก แต่ละบริษัทก็เลือกกันให้ถูก คุยกันให้ชัดกับ Line manager หรือคนที่มีหน้าที่ตัดสินใจเอาคนออกนะครับ จะได้ไม่เกิดความผิดพลาดอีก คราวนี้วิธีแก้ที่ได้ปรึกษากับทางประกันสังคมคือ ให้นายจ้างทำหนังสือชี้แจงยื่นกับสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ที่รับผิดชอบของสถานประกอบการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการแก้ไขข้อมูลให้ ย้ำนะครับ ประกันสังคมเขตพื้นที่ ที่รับผิดชอบของบริษัทนะครับ จะไปเขตอื่นไม่ได้นะครับ  หนังสือชี้แจงก็ชี้แจงให้ทางประกันสังคมเข้าใจ แล้วถ้าให้ดีนะครับ ทำฟอร์มแจ้งออกตัวที่ถูกต้องแนบไปด้วยนะครับ ส่วนสิทธิกรณีว่างาน จะได้สิทธิ์นี้นอกจากเงื่อนไขข้างต้น ก็มีเงื่อนไขอีกพอสมควรเลยครับ เช่นต้องส่งเงินสมทบ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานและต้องขึ้นทะเบียนว่างานภายใน 30 […]

สิทธิ์จากประกันสังคมเนื่องจากการว่างานและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น Read More »

หนังสือเตือน….อายุของหนังสือเตือนและความสำคัญ

คราวที่แล้ว พี่สายสมรจากบริษัทจำหน่ายเสื้อชั้นในได้ถามถึงกรณีการออกหนังสือเตือน หรือบางท่านเรียกว่า warning letter ว่าการออกต้องออกอย่างไรแล้วมีความสำคัญอย่างไร วันนี้ ผมขอนำพระราชบัญญัติแรงงาน ฯ ที่เกี่ยวข้อง มาเล่าให้ฟังคร่าว ๆ นะครับ โดยภาพรวมแล้วเรื่องหนังสือเตือนมีความเกี่ยวพันกับเรื่องการเลิกจ้างนะครับ แบบว่าเตือนแล้วเจ้าอย่างทำผิดอีก ดังนั้นข้าเชิญให้เจ้าออกจากงานได้ โดยที่ข้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อกำหนดพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 118 การทำผิดข้อบังคับของบริษัทในกรณีไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องให้โอกาสลูกจ้างปรับปรุงตนเองก่อนโดยการออกเป็นหนังสือเตือน ถ้าหากลูกจ้างยังคงทำผิดซ้ำความผิดเดิมในหนังสือเตือนอยู่ ถึงแม้จะเป็นความผิดเล็กน้อยนายจ้างก็สามารถให้ลูกจ้างออกจากงานได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าจะอ้างอิงกันถึงมาตราก็จะเป็นมาตรา 119 (4) กล่าวไว้ประมาณนี้ครับ “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างทำผิดกฎและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว และหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด”  โดยรายละเอียดของหนังสือเตือนต้องระบุถึงระเบียบหรือข้อบังคับที่ลูกจ้างกระทำผิด รวมถึงข้อควมตักเตือน ลงลายมือชื่อของนายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับหนังสือเตือน มีลูกจ้างบางคนไม่ยอมเซ็นต์ชื่อในหนังสือเตือน สิ่งที่นายจ้างต้องทำก็คืออ่านให้พยานฟัง และให้พยานลงชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย ก็ประมาณนี้นะครับ กฏหมายเค้าก็ดูแลลูกจ้างเป็นอย่างดีครับ ผู้ที่เป็นนายจ้างจะทำอะไรก็ต้องงัดข้อกฎหมายมาปฏิบัติ เพื่อป้องกันข้อฟ้องร้องในภายหลังครับ

หนังสือเตือน….อายุของหนังสือเตือนและความสำคัญ Read More »

เมื่อลูกจ้างขโมยของบริษัทไปขาย แต่นายจ้างไม่ไล่ออก แต่จะหักเงินแทน

คุณพี่สายสมรจากบริษัทจำหน่ายเสื้อชั้นในบริษัทหนึ่งในประเทศไทยโทรมาเพื่อระบายอารมณ์ ในขณะเดียวกันก็ขอคำแนะนำว่า คุณพี่ควรจะทำอย่างไรดีค่ะ เมื่อจับได้ว่าพนักงานแอบขโมยเสื้อชั้นในไปขายในตลาดแบกะดิน จากประสบการณ์ในกรณีนี้เข้าข่ายทุจริต และทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 พี่สายสมรสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 อืม…พี่เองก็ไม่อยากทำลายอนาคตเด็กมันอะนะ เอางี้ ถ้าพี่จะหักเงินเด็กเพื่อเป็นการชดใช้ได้หรือไม่ ผมนึกสักพักแล้วก็นึกถึง พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 76 และ 77 มาตรา 76 มีใจความหลัก ๆ ว่า (หาอ่านมาตรานี้เต็ม ๆ กันเองนะคับ) นายจ้างห้ามหักตังค์ลูกจ้าง ยกเว้นเป็นการหักค่า 1) ภาษีเงินได้ 2) ค่าบำรุงสหภาพแรงงาน 3) ชำระหนี้สหกรณ์ (ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง) 4) เงินประกันค่าชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาท 5) เงินกองทุนสะสม ข้อ 2-5 ห้ามหักเกิน 10% ของแต่ละกรณี และหักรวมกันไม่เกิน 20% ของเงินที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือน (เงินในมาตรา 70) เว้นเสียแต่ว่าได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง มาตรา 77: กล่าวโดยย่อคือ ถ้าจะหักต้งค์

เมื่อลูกจ้างขโมยของบริษัทไปขาย แต่นายจ้างไม่ไล่ออก แต่จะหักเงินแทน Read More »

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (3)

มาว่ากันต่อในเรื่องสิทธิประโยชน์ของการเป็นผู้ประกันตนกับระบบประกันสังคมของประเทศไทยกันต่อครับ ในมุมของผมเองและลูกจ้างทั้งหลาย เราค่อนข้างคุ้นกับกองทุนประกันสังคมนะครับ ถ้าให้ชัด ๆ ก็คือเงินที่เราต้องจ่ายสมทบทุกเดือน (ฐานเงินเดือนที่ใช้คิดก็คือ 1,650 – 15,000 บาท)  ปี 2556 นี้ผู้ประกันตนและนายจ้างต้องจ่ายสบทบฝ่ายละ 4% ครับ ในส่วนของกองทุนทดแทนเรา  ๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นกันครับจนกว่าจะเกิดเรื่องขึ้นมา เงินกองทุนทดแทนนั้น เป็นเงินที่ทางนายจ้างต้องจ่ายสมทบให้กับกองทุนเงินทดแทนมากน้อยตามความเสี่ยงของธุรกิจ  (ลูกจ้างไม่ต้องสมทบนะครับ) ขอระบุให้ชัด ๆ นิดนึงครับว่าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 นะครับ มาตรา 40 ไว้มีโอกาสผมจะมา touch base ให้อีกทีครับ เห็นเค้าใช้กันแล้วดูดีครับ 555 คำว่า touch base แปลว่าอะไรผมก็ไม่รู้นะครับ ส่วนความแตกต่างของผู้ประกันตนของแต่ละมาตราสามารถดูรายละเอียดจากลิงค์ของผู้รู้ท่านอื่นที่ผมจะแนบไว้ให้ครับ ผมเจอสรุปที่ทางประกันสังคมทำไว้แล้วครับ ขออนุญาตแชร์เลยนะครับ แต่นิดนึงนะครับ ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะไม่มีสิทธิ์ได้รับสิทธิ์ในเรื่องการว่างงานนะครับ จะเห็นว่านอกจากผลประโยชน์ที่จะได้จะเป็นเรื่องที่สำคัญ อีกเรื่องที่สำคัญคือเงื่อนไขเพื่อให้ได้สิทธิ์ประโยชน์นั้น ๆ ครับ เช่น การที่จะได้รับสิทธิ์การค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ผู้ประกันตนนั้นต้องจ่ายเงินสมทบ

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (3) Read More »

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (2)

ก็ตามที่ผมบอกไว้นะครับ วันนี้ผมเอาแบบฟอร์มมาฝากนะครับ มีทั้งหมด 3 แบบฟอร์ม ก่อนที่จะลงรายละเอียดกัน ผมขอทวนข้อกำหนดทางกฎหมายอีกทีครับ ว่าในการแจ้งเข้าพนักงาน ต้องทำการแจ้งภายใน 30 วันหลังจากการจ้างงานวันแรก ในขณะที่การแจ้งออกต้องแจ้งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดมานะครับ แต่อย่างที่ผมบอกครับ บางทีเค้ารับฟอร์มที่เราเอาไปยื่นเค้าก็ไม่ได้ทำการบันทึกเข้าระบบในทันทีครับ โอเคมาดูวัตถุประสงค์การใช้ฟอร์มกันดีกว่าครับ สปส 1-03 ใช้กับพนักงานที่ยังไม่เคยมีบัตรประกันสังคมมาก่อนครับ จะเข้าระบบประกันสังคมก็ต้องกรอกฟอร์มนี้ครับ   สปส 1-03/1 ใช้กับพนักงานที่เคยมีบัตรประกันสังคมแล้ว หลัก ๆ แล้วก็กรอกหมายเลขบัตรประจำประชาชน, ชื่อและวัน เดือน ปี เข้าทำงานให้ถูกครับ ส่วนอีก 2 ช่องทางขวา ทางประกันสังคมเค้าไม่ค่อย strict ครับ ไม่ต้องกรอกก็ได้   สปส 6-09 ใช้กับพนักงานที่ลาออกจากบริษัท  แจ้งภายในวันที่ 15 ชองเดือนถัดไปครับ  ฟอร์มนี้ข้อมูลที่สำคัญในการกรอกคือสาเหตุของการลาออกครับ ต้องเลือกว่าเป็น 1,2,…7 ผมเคยโดนตีกลับด้วยครับ ลืมเลือกให้พนักงาน ใบรับแบบ อันนี้สำคัญสุด เมื่อไปยื่นเอกสารอะไรให้ทางประกันสังคมอย่าลืมทวงไปรับแบบนะครับ เพราะเราจะเห็นว่าข้อมุลไม่ได้ถูกบันทึกไว้ทันทีครับ

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (2) Read More »

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน

จำไม่ได้แล้วเหมือนกันว่าผมเริ่มงานเกี่ยวกับการทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือนเมื่อไหร่ แต่ที่ผมรู้สึกได้ก็คืองานนี้เป็นงานที่สนุกแล้วก็ได้ความรู้ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งความรู้นั้นก็คือความรู้เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้, ประกันสังคม รวมถึงกฏหมายแรงงาน ผมมีความรู้เป็นศูนย์ แถมติดลบด้วยซ้ำไปเพราะผมมีลักษณะเหมือนหลาย ๆ คนคือ ได้ payslip มาไม่เคยเปิดดู, ภาษีก็ให้แฟนยื่นให้ 555 ผมเลยมึนอย่างเปิดเผยในการทำงานวันแรก วันนี้ผมขอแชร์ประสบการณืเกี่ยวกับประกันสังคมรึกันนะ ผมเพิ่งรู้ว่า ตามกฏของประกันสังคมนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องจดทะเบียนนายจ้างและต้องแจ้งลูกจ้างคนนั้นให้เป็นผู้ประกันตนภายใต้บริษัทภายใน 30 วันหลังจากลูกจ้างเริ่มงานวันแรก ปัญหามันมีอยู่ว่า บางทีกว่าจะขึ้นทะเบียนนายจ้างเสร็จก็เกิน 30 วันเข้าไปแล้ว ทำไงดีหละ วิธีที่ผมเค้าทำกันก็คือ ทำจดหมายขอผ่อนผันกับประกันสังคม เพื่อจะได้ไม่โดนปรับจากการขึ้นทะเบียนลูกจ้างไม่ทัน 30 วันหลังจากวันเริ่มทำงานวันแรก  แต่อันนี้เท่าที่นายแอบมึนเห็นก็คือเมื่อเราแจ้งเข้า หรือแจ้งออกพนักงาน ทางประกันสังคมเค้าไม่ได้นำข้อมูลเข้าระบบทันที  ซึ่งมันก็มีข้อดีตรงที่ว่าเค้าก็ไม่ค่อยปรับนะ กรณีแจ้งเกิน 30 วันเพราะบางที่ที่มันเกินกำหนดก็เพราะทางเค้านำข้อมูลเข้าระบบไม่ทัน เมื่อดีลงานกับราชการ แบบฟอร์มเป็นเรื่องสำคัญ บางที่ทำแบบฟอร์มของเราไปเองรูปร่างหน้าตาคล้ายฟอร์มของประกันสังคมเป๊ะ โดนเด้งกลับก็มี เช่นใบมอบอำนาจเป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ใช้ฟอร์มที่เค้าให้มาดีกว่า ในเรื่องการแจ้งเข้าพนักงานนั้น แบบฟอร์มที่ใช้คือ สปส 1-03 หรือ สปส 1-03/1 สำหรับการแจ้งออกมีฟอร์มเดียวคือ สปส

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน Read More »

เมื่อผมไม่มีอำนาจ….ในการเซ็นต์เอกสารแจ้งเข้า/ออกของพนักงาน

ณ เช้าวันหนึ่งขณะที่ผมกำลังเรียนรู้งานเมื่อสักไม่กีหลายปีที่ผ่านมา 🙂 พี่เฉย: น้องนิคบริษัทนี้เราเซ็นต์เอกสารประกันสังคมได้เลยนะ น้องนิค: ครับพี่เฉย งั้นผมจะไปจ่ายเงินสมทบประจำปี และ แจ้งเข้าออกพนักงานเองครับ ผมเตรียมเอกสารอย่างขมักเขม้น print from สปส 1-03 สำหรับการแจ้งเข้าพนักงาน รายนี้เป็น expat ซะด้วย สำเนา work permit มีแล้ว,สำเนา passport ก็มีแล้ว เยี่ยม! ผมยิ้มแล้วคิดในใจว่า งานนี้ผมต้องได้รับการยอมรับจากพี่ ๆ ว่าผมพร้อมฉายเดี่ยวแล้วผมเซ็นต์แบบฟอร์ม สปส 1-03 เพื่อเตรียมนำไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมทันที….ระหว่างที่ผมไปยื่นเอกสารปึกใหญ่สำหรับจ่ายเงินสมทบ ผมก็ไปอีกแผนกของประกันสังคมเพื่อแจ้ง เข้า/ออกพนักงาน ทันใดนั้นเหมือนฟ้าฝ่าเมื่อได้ยินเสียงพนักงาน… เจ้าหน้าที่:  คุณค่ะ ลายเซ็นต์นี้ไม่มีอำนาจในการเซ็นต์เอกสารแจ้งเข้าออกนะค่ะ น้องนิค:    ทำนิ่ง ๆ แล้วตอบพนักงานว่า ทุกทีก็ใช้ชื่อนี้เซ็นต์นะครับ เจ้าหน้าที่:   กดปุ่มอะไรบางอย่าง (โอ้ประกันสังคมเราเจ๋งโว้ย เช็คลายเซ็นต์ได้ด้วย) ไม่นะค่ะคนที่เซ็นต์ได้มีแค่นาย Albert และนางสุจิรานะค่ะ น้องนิค:    เหรอคับ –

เมื่อผมไม่มีอำนาจ….ในการเซ็นต์เอกสารแจ้งเข้า/ออกของพนักงาน Read More »

Team Building ในมุมมองอีกมุมหนึ่งของ HR

…..ด้านที่สามของเหรียญก็คือสันเหรียญ นั่นหมายถึงว่าเราพร้อมที่จะเป็นทั้งหัวและก้อย บางทีไม่พร้อมแต่ก็ต้องเป็นได้ทั้งหัวและก้อยตามสถานการณ์……เห็นผ่าน ๆ จาก FB ผมเห็นว่าเป็นอะไรที่มีความหมายดี… ไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องที่ผมกำลังจะเขียนนะครับ เมื่อไม่นานมานี้น้องอีกบริษัทที่รู้จักชอบพอกันมาบ่นว่า Team building ปีนี้ไปที่เดิมอีกแล้ว แล้วต้องแบกคอมพิวเตอร์ไปทำงานด้วยเซ็งอะพี่ ทำให้ผมระลึกชาติกลับไปได้ประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาบริษัทผมก็มีจัดอะไรทำนองนี้เหมือนกันบางคนเรียก outing บางคนเรียก team building ก็น่าจะเรียกได้ทั้งสองคำอะนะเอาเป็นว่าเป็นกิจกรรมที่บริษัทจะสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นในกลุ่มพนักงานของบริษัท เคยไหมครับที่อยู่ในสถานการณ์ที่ตัวเองไม่อยากไปแต่นายส่งกระแสจิตมาบอกว่าต้องไป แล้วนายก็พูดออกมาว่าเป็น optional ไม่ได้บังคับ !!! เบื้องหน้าเบื้องหลังของเรื่องนี้มันคืออะไรกันแน่ ผมพอจะเห็นมุมของ HR มุมนึงในเรื่องนี้ครับ คือแน่นอนเค้าอยากให้เราไปร่วม ไม่ว่าจะทำให้งานเค้าดูดี หรือทำให้ทีม strong ขึ้นก็แล้วแต่ครับ แต่เหตุที่เค้าไม่ (กล้า) บังคับให้ไปอย่างออกหน้าออกตาส่งจดหมายว่าทุกคนต้องไปอะไรงี้ก็เพราะ ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ขาแข้งหัก ฟันกรามหลุดในระหว่างงานนี้ ถือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในเวลางาน พนักงานจะได้รับเงินค่ารักษาจากกองทุนชดเชย ไม่ใช่ประกันสังคม ซึ่งพอเป็นกองทุนชดเชย การมีพนักงานเบิกเงินค่ารักษาจากกองทุนชดเชยบ่อย ทำให้บริษัทต้องเสียเบี้ยประจำปีที่ต้องสบทบเข้ากองทุนชดเชยมากขึ้นไปด้วย ….พอเห็นภาพนะครับ อีกเรีื่องที่ผมขอแถมให้ด้วยนะครับ เป็นเรื่องที่มีคนถามผมเหมือนกันว่าถ้าเราเดินทางจากบ้านเพื่อไปหาลูกค้าในตอนเช้าหรือกลับบ้านหลังจากไปหาลูกค้าแล้วดันซวยเกิดอุบัติเหตุในช่วงนั้น อันนี้ถือเป็นอุบัติเหตุจากการปฏิบติงานหรือไม่ ศาลท่านวินิจฉัยไว้ว่าถื่อเป็นอุบัติเหตุในหน้าที่นะครับ เงินจากการรักษาตรงนี้ต้องเป็นความรับผิดชอบของกองทุนทดแทนนะครับ ไม่ใช่ประกันสังคม

Team Building ในมุมมองอีกมุมหนึ่งของ HR Read More »

วันนี้เป็นวันหยุด (ตามประเพณี) แต่ทำไมผมถึงไม่ได้หยุด

  วันสงกรานต์แต่ยังต้องไปทำงาน, คุณแม่ไปเวียนเทียนวันวิสาขบูชา แต่เราต้องไปบริษัทนั่งปิดงบบัญชี และเค้าไปบอกรักกันวันวาเลนไทน์ แต่เรานั่งทำงานอยู่คนเดียวอันสุดท้ายนี้ไม่เกี่ยวนะครับ ผมเชื่อว่าเพื่อน ๆ น่าจะเคยตกอยู่ในสถานการณ์อันนี้มาบ้างครับ เคยสงสัยไหมครับว่านายจ้างมีสิทธิ์ทำเยี่ยงนี้ได้หรือไม่ ถ้าได้เค้าต้องให้ผลตอบแทนเราอย่างไรบ้าง ผมข้ออ้างถึง พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 วรรคหนึ่งถึงสามนะครับ มาตรานี้บัญญัติไว้ดังนี้ครับ ลองอ่านดู อันนี้เข้าใจง่ายครับ หน้าที่ให้นายจ้างต้องประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณี กล่าวคือ วันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด ให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยในปีหนึ่งวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่า 13 วัน ซึ่งนับรวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว โดยหากวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ก็ให้นายจ้างกำหนดวันหยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวให้กับลูกจ้างในวันทำงานถัดไป ดังนั้น เมื่อนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างเข้ามาทำงานในวันหยุดตามประเพณี และลูกจ้างตกลงทำ นายจ้างต้องจ่ายเป็นเงินค่าทำงานในวันหยุดนะครับ แต่ช้าก่อน มีข้อยกเว้นนะครับ เฉพาะงานที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง ฉบับที่ 4 ซื่งให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันว่า 1) ลูกจ้างจะไปหยุดชดเชยในวันทำงานอื่น หรือ 2) นายจ้างจ่ายค่าทำงานวันหยุดให้ คงต้องกล่าวถึง กฎกระทรวง ฉบับที่  4 กันนะครับ กฎกระทรวงฉบับที่ 4

วันนี้เป็นวันหยุด (ตามประเพณี) แต่ทำไมผมถึงไม่ได้หยุด Read More »

thThai
Scroll to Top