กรกฎาคม 2014

Man in White Dress Shirt Holding Black Smartphone

สวัสดิการ (Welfare)

ข้อความที่แล้วได้พูดถึงนิยามและองค์ประกอบของคำว่า “ค่าจ้าง” ใจความสำคัญก็คืออะไรที่ถือเป็นค่าจ้างแล้ว ต้องนำไปฐานในการคำนวนเงินบางประเภท เช่นเงินค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด รวมถึงเงินชดเชย นอกจากคำว่าค่าจ้างแล้ว สวัสดิการ (Welfare) ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่เราคุ้นหู  สวัสดิการ คือ การที่นายจ้างจัดหาสิ่งต่าง ๆให้ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือหรือจูงใจ นอกเหนือจากค่าจ้าง เช่น เงินโบนัส, เบี้ยขยัน, ค่านั้ามันรถ และค่าเครื่องแบบเป็นต้น สิ่งที่อยากจะนำมาแชร์ในวันนี้ก็คือ สวัสดิการที่นายจ้างจัดหาให้พวกเรานั้น ถือเป็นสภาพการจ้าง (เงื่อนไขการจ้างระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง) ดังนั้น เมื่อจัดหาให้แล้วไม่สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงในทางลดน้อยถอยลงได้ (ง่าย ๆ) ที่ใส่วงเล็บไปเพราะตามตัวบทกฏหมายเข้าให้เปลี่ยนได้แต่ต้อง 1) นายจ้างหรือลูกจ้างเรียกร้องต่อกัน ตั้งตัวแทนมาเจรจากัน และ 2) ลูกจ้างต้องยินยอม ผมยังพอจำภาพได้ตอนที่เศรษฐกิจไม่ดี แล้วบริษัทนำจดหมายยินยอมมาให้เซ็นเพื่อปรับลดเงินเดือน 🙂 อย่างไรก็ตามในกรณีที่ปรับเปลี่ยนแล้วเป็นคุณกับลูกจ้างสามารถเปลี่ยนได้เลย ดังนั้นในมุมของนายจ้างการกำหนดสวัสดิการควรกำหนดระยะเวลาเช่น ทางบริษัทจะจัดสวัสดิการให้พนักงานในเรื่องรถรับส่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2557 เป็นต้น  

สวัสดิการ (Welfare) Read More »

Woman Writing on a Notebook Beside Teacup and Tablet Computer

องค์ประกอบของค่าจ้าง

สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าหลายท่านเคยมีคำถามครับว่าในการคิดค่าล่วงเวลานั้น ต้องเอาฐานรายได้อะไรบ้างมาคำนวน การที่จะตอบคำถามตรงนี้ได้ต้องเข้าใจคำว่าค่าจ้างในมุมมองของทางแรงงานก่อนครับ ค่าจ้างโดยนิยามหมายถึง “เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติและให้หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน”  ทั้งนี้รายได้อื่นถึงแม้จะมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่ถ้าตีความออกมาแล้วว่าเป็นค่าจ้าง ก็ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดเงินค่าล่วงเวลานะครับ เช่น นายจ้างให้เงินค่าครองชีพพนักงานโดยมีการจ่ายพนักงานเป็นประจำทุกเดือน และมีจำนวนที่แน่นอน เงินอันนี้จึงถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้าง ที่มักจะมีข้อถกเถึยงกันก็ตอนคิดค่าล่วงเวลา หรือตอนจ่ายค่าชดเชยว่าตกลงเงินได้ประเภทใดต้องนำมาเป็นฐานในการคิด ในส่วนของนายจ้างก็อยากจะตัดเงินได้บางประเภทออก เพราะจะทำให้จ่ายเงินค่าล่วงเวลาพนักงานหรือค่าชดเชยน้อยลงในขณะที่ลูกจ้างก็มองอีกมุมครับ ผมขอแชร์หลักการตามรูปข้างล่างนะครับ อย่างไรก็ลองศึกษาคำพิพากษาฏีกาเกี่ยวกับเรื่องคำ่จ้างก็จะทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นครับ ครั้งหน้าเรามาดูเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการกันครับ

องค์ประกอบของค่าจ้าง Read More »

thThai
Scroll to Top