Author name: admin

เมื่อผมไม่มีอำนาจ….ในการเซ็นต์เอกสารแจ้งเข้า/ออกของพนักงาน

ณ เช้าวันหนึ่งขณะที่ผมกำลังเรียนรู้งานเมื่อสักไม่กีหลายปีที่ผ่านมา 🙂 พี่เฉย: น้องนิคบริษัทนี้เราเซ็นต์เอกสารประกันสังคมได้เลยนะ น้องนิค: ครับพี่เฉย งั้นผมจะไปจ่ายเงินสมทบประจำปี และ แจ้งเข้าออกพนักงานเองครับ ผมเตรียมเอกสารอย่างขมักเขม้น print from สปส 1-03 สำหรับการแจ้งเข้าพนักงาน รายนี้เป็น expat ซะด้วย สำเนา work permit มีแล้ว,สำเนา passport ก็มีแล้ว เยี่ยม! ผมยิ้มแล้วคิดในใจว่า งานนี้ผมต้องได้รับการยอมรับจากพี่ ๆ ว่าผมพร้อมฉายเดี่ยวแล้วผมเซ็นต์แบบฟอร์ม สปส 1-03 เพื่อเตรียมนำไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมทันที….ระหว่างที่ผมไปยื่นเอกสารปึกใหญ่สำหรับจ่ายเงินสมทบ ผมก็ไปอีกแผนกของประกันสังคมเพื่อแจ้ง เข้า/ออกพนักงาน ทันใดนั้นเหมือนฟ้าฝ่าเมื่อได้ยินเสียงพนักงาน… เจ้าหน้าที่:  คุณค่ะ ลายเซ็นต์นี้ไม่มีอำนาจในการเซ็นต์เอกสารแจ้งเข้าออกนะค่ะ น้องนิค:    ทำนิ่ง ๆ แล้วตอบพนักงานว่า ทุกทีก็ใช้ชื่อนี้เซ็นต์นะครับ เจ้าหน้าที่:   กดปุ่มอะไรบางอย่าง (โอ้ประกันสังคมเราเจ๋งโว้ย เช็คลายเซ็นต์ได้ด้วย) ไม่นะค่ะคนที่เซ็นต์ได้มีแค่นาย Albert และนางสุจิรานะค่ะ น้องนิค:    เหรอคับ – […]

เมื่อผมไม่มีอำนาจ….ในการเซ็นต์เอกสารแจ้งเข้า/ออกของพนักงาน Read More »

Team Building ในมุมมองอีกมุมหนึ่งของ HR

…..ด้านที่สามของเหรียญก็คือสันเหรียญ นั่นหมายถึงว่าเราพร้อมที่จะเป็นทั้งหัวและก้อย บางทีไม่พร้อมแต่ก็ต้องเป็นได้ทั้งหัวและก้อยตามสถานการณ์……เห็นผ่าน ๆ จาก FB ผมเห็นว่าเป็นอะไรที่มีความหมายดี… ไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องที่ผมกำลังจะเขียนนะครับ เมื่อไม่นานมานี้น้องอีกบริษัทที่รู้จักชอบพอกันมาบ่นว่า Team building ปีนี้ไปที่เดิมอีกแล้ว แล้วต้องแบกคอมพิวเตอร์ไปทำงานด้วยเซ็งอะพี่ ทำให้ผมระลึกชาติกลับไปได้ประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาบริษัทผมก็มีจัดอะไรทำนองนี้เหมือนกันบางคนเรียก outing บางคนเรียก team building ก็น่าจะเรียกได้ทั้งสองคำอะนะเอาเป็นว่าเป็นกิจกรรมที่บริษัทจะสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นในกลุ่มพนักงานของบริษัท เคยไหมครับที่อยู่ในสถานการณ์ที่ตัวเองไม่อยากไปแต่นายส่งกระแสจิตมาบอกว่าต้องไป แล้วนายก็พูดออกมาว่าเป็น optional ไม่ได้บังคับ !!! เบื้องหน้าเบื้องหลังของเรื่องนี้มันคืออะไรกันแน่ ผมพอจะเห็นมุมของ HR มุมนึงในเรื่องนี้ครับ คือแน่นอนเค้าอยากให้เราไปร่วม ไม่ว่าจะทำให้งานเค้าดูดี หรือทำให้ทีม strong ขึ้นก็แล้วแต่ครับ แต่เหตุที่เค้าไม่ (กล้า) บังคับให้ไปอย่างออกหน้าออกตาส่งจดหมายว่าทุกคนต้องไปอะไรงี้ก็เพราะ ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ขาแข้งหัก ฟันกรามหลุดในระหว่างงานนี้ ถือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในเวลางาน พนักงานจะได้รับเงินค่ารักษาจากกองทุนชดเชย ไม่ใช่ประกันสังคม ซึ่งพอเป็นกองทุนชดเชย การมีพนักงานเบิกเงินค่ารักษาจากกองทุนชดเชยบ่อย ทำให้บริษัทต้องเสียเบี้ยประจำปีที่ต้องสบทบเข้ากองทุนชดเชยมากขึ้นไปด้วย ….พอเห็นภาพนะครับ อีกเรีื่องที่ผมขอแถมให้ด้วยนะครับ เป็นเรื่องที่มีคนถามผมเหมือนกันว่าถ้าเราเดินทางจากบ้านเพื่อไปหาลูกค้าในตอนเช้าหรือกลับบ้านหลังจากไปหาลูกค้าแล้วดันซวยเกิดอุบัติเหตุในช่วงนั้น อันนี้ถือเป็นอุบัติเหตุจากการปฏิบติงานหรือไม่ ศาลท่านวินิจฉัยไว้ว่าถื่อเป็นอุบัติเหตุในหน้าที่นะครับ เงินจากการรักษาตรงนี้ต้องเป็นความรับผิดชอบของกองทุนทดแทนนะครับ ไม่ใช่ประกันสังคม

Team Building ในมุมมองอีกมุมหนึ่งของ HR Read More »

วันนี้เป็นวันหยุด (ตามประเพณี) แต่ทำไมผมถึงไม่ได้หยุด

  วันสงกรานต์แต่ยังต้องไปทำงาน, คุณแม่ไปเวียนเทียนวันวิสาขบูชา แต่เราต้องไปบริษัทนั่งปิดงบบัญชี และเค้าไปบอกรักกันวันวาเลนไทน์ แต่เรานั่งทำงานอยู่คนเดียวอันสุดท้ายนี้ไม่เกี่ยวนะครับ ผมเชื่อว่าเพื่อน ๆ น่าจะเคยตกอยู่ในสถานการณ์อันนี้มาบ้างครับ เคยสงสัยไหมครับว่านายจ้างมีสิทธิ์ทำเยี่ยงนี้ได้หรือไม่ ถ้าได้เค้าต้องให้ผลตอบแทนเราอย่างไรบ้าง ผมข้ออ้างถึง พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 วรรคหนึ่งถึงสามนะครับ มาตรานี้บัญญัติไว้ดังนี้ครับ ลองอ่านดู อันนี้เข้าใจง่ายครับ หน้าที่ให้นายจ้างต้องประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณี กล่าวคือ วันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด ให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยในปีหนึ่งวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่า 13 วัน ซึ่งนับรวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว โดยหากวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ก็ให้นายจ้างกำหนดวันหยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวให้กับลูกจ้างในวันทำงานถัดไป ดังนั้น เมื่อนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างเข้ามาทำงานในวันหยุดตามประเพณี และลูกจ้างตกลงทำ นายจ้างต้องจ่ายเป็นเงินค่าทำงานในวันหยุดนะครับ แต่ช้าก่อน มีข้อยกเว้นนะครับ เฉพาะงานที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง ฉบับที่ 4 ซื่งให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันว่า 1) ลูกจ้างจะไปหยุดชดเชยในวันทำงานอื่น หรือ 2) นายจ้างจ่ายค่าทำงานวันหยุดให้ คงต้องกล่าวถึง กฎกระทรวง ฉบับที่  4 กันนะครับ กฎกระทรวงฉบับที่ 4

วันนี้เป็นวันหยุด (ตามประเพณี) แต่ทำไมผมถึงไม่ได้หยุด Read More »

thThai
Scroll to Top