LAWS

Black Calculator Near Ballpoint Pen on White Printed Paper

เงินได้จากค่าย้านถิ่นฐานเข้า/ออก จากบริษัทในประเทศไทย (Relocation Allowance) ของพนักงานต่างชาติเสียภาษีหรือไม่อย่างไร

มีลูกค้าขอคำปรึกษามาบ่อยพอสมควรครับ กรณีที่มีพนักงานชาวต่างชาติจะเดินทางกลับประเทศ แล้วนายจ้างใจดีออกค่าเดินทางให้เช่นค่าตั๋วเครื่องบินรวมถึงค่า Courier ในการขนสัมภาระต่าง ๆ กลับประเทศถิ่นฐานเดิม เงินได้ตรงนี้ต้องนำมารวมคำนวณภาษีหรือไม่ การตอบคำถามนี้ผมขอยกประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา  40(1) และ มาตรา 42(3) มาช่วยในการตัดสินใจนะครับ เงินได้อันนี้ถือเป็นเงินได้ที่ได้จากการจ้างงานนะครับ เพราะฉะนั้นต้องนำมาคำนวณภาษีครับ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 42 มีการกล่าวถึง เงินได้พึงประเมินบางประเภทที่ไม่ต้องนำมาคิดภาษีครับ ซึ่งมาตรา 42(3) กล่าวดังนี้ครับ   “เงินค่าเดินทางซี่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงเล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนสิ้นสุดลง” ตรงนี้ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่คำว่ากลับถิ่นเดิมนะครับ ถ้าให้ถูกจริง ๆ ก็ยึดตามหน้า Passport นะครับ คนชาติไหนกลับถึิ่นเดิมก็คือกลับไปที่ประเทศนั้น ๆ ครับ และที่สำคัญต้องดูด้วยว่าการจะได้สิทธิ์นี้ระยะเวลาการจ้างงานของทั้งสองครั้งต้องมากกว่า 365 วันนะครับ (ดูวันจากสัญญาจ้างงาน) ดังนั้นในกรณีนี้ ถ้าเป็นการจ้างงานในประเทศไทยครั้งแรกของ Expat ท่านนี้ เงิน Relocation Allowance สำหรับการเดินทางกลับถิ่นฐานเดิม ของเค้าก็ไม่ต้องนำมารวมคิดภาษีนะครับ .  

เงินได้จากค่าย้านถิ่นฐานเข้า/ออก จากบริษัทในประเทศไทย (Relocation Allowance) ของพนักงานต่างชาติเสียภาษีหรือไม่อย่างไร Read More »

Free stock photo of accountant, accounting, administration

ใบลาออก…ยกเลิกได้หรือไม่

สวัสดีครับ เมื่อไม่นานมานี้ มีเพื่อนเล่าให้ฟังว่า ที่ทำงานของเพื่อนมีพนักงานท่านหนึ่งได้ยื่นใบลาออกไปแล้วโดยยื่นเอกสารถูกต้องตามระเบียบของบริษัท ซึ่งพอหลังจากยื่นแล้วได้มีการคุยกับเพื่อนร่วมงาน แล้วไม่รู้อิท่าไหน พนักงานท่านนี้เกิดเปลี่ยนใจ ไม่อยากออกแล้ว คำถามที่มาถึงผมคือว่า พนักงานท่านนั้นขอยกเลิกใบลาออก ได้หรือไม่   ผมขออ้างถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิ์เลิกสัญญาหรือโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้น ย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่” ดังนั้นคำตอบของคำถามนี้ (ตามหลักกฎหมาย) คือ เมื่อถึงวันที่ระบุว่าเป็นวันทำงานสุดท้ายในจดหมายลาออกนั้น พนักงานท่านนี้ก็ต้องพ้นสภาพการเป็นพนักงานทันทีครับ ที่เราเห็นกันว่า ลูกจ้างยื่นใบลาออกแล้ว เกิดเปลี่ยนใจแล้วก็ยังทำงานอยู่ได้นั้น ต้องบอกว่า นายจ้างเค้าใจดีครับ

ใบลาออก…ยกเลิกได้หรือไม่ Read More »

Man in White Dress Shirt Holding Black Smartphone

สวัสดิการ (Welfare)

ข้อความที่แล้วได้พูดถึงนิยามและองค์ประกอบของคำว่า “ค่าจ้าง” ใจความสำคัญก็คืออะไรที่ถือเป็นค่าจ้างแล้ว ต้องนำไปฐานในการคำนวนเงินบางประเภท เช่นเงินค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด รวมถึงเงินชดเชย นอกจากคำว่าค่าจ้างแล้ว สวัสดิการ (Welfare) ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่เราคุ้นหู  สวัสดิการ คือ การที่นายจ้างจัดหาสิ่งต่าง ๆให้ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือหรือจูงใจ นอกเหนือจากค่าจ้าง เช่น เงินโบนัส, เบี้ยขยัน, ค่านั้ามันรถ และค่าเครื่องแบบเป็นต้น สิ่งที่อยากจะนำมาแชร์ในวันนี้ก็คือ สวัสดิการที่นายจ้างจัดหาให้พวกเรานั้น ถือเป็นสภาพการจ้าง (เงื่อนไขการจ้างระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง) ดังนั้น เมื่อจัดหาให้แล้วไม่สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงในทางลดน้อยถอยลงได้ (ง่าย ๆ) ที่ใส่วงเล็บไปเพราะตามตัวบทกฏหมายเข้าให้เปลี่ยนได้แต่ต้อง 1) นายจ้างหรือลูกจ้างเรียกร้องต่อกัน ตั้งตัวแทนมาเจรจากัน และ 2) ลูกจ้างต้องยินยอม ผมยังพอจำภาพได้ตอนที่เศรษฐกิจไม่ดี แล้วบริษัทนำจดหมายยินยอมมาให้เซ็นเพื่อปรับลดเงินเดือน 🙂 อย่างไรก็ตามในกรณีที่ปรับเปลี่ยนแล้วเป็นคุณกับลูกจ้างสามารถเปลี่ยนได้เลย ดังนั้นในมุมของนายจ้างการกำหนดสวัสดิการควรกำหนดระยะเวลาเช่น ทางบริษัทจะจัดสวัสดิการให้พนักงานในเรื่องรถรับส่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2557 เป็นต้น  

สวัสดิการ (Welfare) Read More »

Woman Writing on a Notebook Beside Teacup and Tablet Computer

องค์ประกอบของค่าจ้าง

สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าหลายท่านเคยมีคำถามครับว่าในการคิดค่าล่วงเวลานั้น ต้องเอาฐานรายได้อะไรบ้างมาคำนวน การที่จะตอบคำถามตรงนี้ได้ต้องเข้าใจคำว่าค่าจ้างในมุมมองของทางแรงงานก่อนครับ ค่าจ้างโดยนิยามหมายถึง “เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติและให้หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน”  ทั้งนี้รายได้อื่นถึงแม้จะมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่ถ้าตีความออกมาแล้วว่าเป็นค่าจ้าง ก็ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดเงินค่าล่วงเวลานะครับ เช่น นายจ้างให้เงินค่าครองชีพพนักงานโดยมีการจ่ายพนักงานเป็นประจำทุกเดือน และมีจำนวนที่แน่นอน เงินอันนี้จึงถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้าง ที่มักจะมีข้อถกเถึยงกันก็ตอนคิดค่าล่วงเวลา หรือตอนจ่ายค่าชดเชยว่าตกลงเงินได้ประเภทใดต้องนำมาเป็นฐานในการคิด ในส่วนของนายจ้างก็อยากจะตัดเงินได้บางประเภทออก เพราะจะทำให้จ่ายเงินค่าล่วงเวลาพนักงานหรือค่าชดเชยน้อยลงในขณะที่ลูกจ้างก็มองอีกมุมครับ ผมขอแชร์หลักการตามรูปข้างล่างนะครับ อย่างไรก็ลองศึกษาคำพิพากษาฏีกาเกี่ยวกับเรื่องคำ่จ้างก็จะทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นครับ ครั้งหน้าเรามาดูเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการกันครับ

องค์ประกอบของค่าจ้าง Read More »

หากไม่ได้ทำผิด นายจ้างไม่มีสิทธิ์ “ไล่เราออก” แต่ “เลิกจ้าง” เราได้

เพื่อนที่ทำงานเก่า ได้เล่าเรื่องในสถานที่ทำงานของเค้าให้ฟังว่า มีอยู่วันหนึ่งนายของเค้าได้เรียกพนักงานท่านหนึ่งเข้าไปในห้องแล้วยื่นเอกสารให้ 2 ฉบับ ใช่ครับเป็นอย่างที่ทุกท่านคิดครับ ฉบับแรกคือ จดหมายรับรองการทำงาน ฉบับที่สองคือจดหมายไล่ออก…..พวกเราหากไม่เคยอยู่ในสถานการณ์นี้ และยิ่งหากไม่ได้ศึกษาเรื่องกฎหมายแรงงาน ผมว่าเราตั้งตัวกันไม่ติดเหมือนกันนะครับ ลองมาดูกันครับ เราควรทำอย่างไรหากคน ๆ นั้นเป็นเราเอง เจ้านายเริ่มพูดว่า ดิฉันก็จ้างคุณมาค่าตัวแพงอยู่นะ แต่ผลงานคุณมันไม่คุ้มกับเงินที่บริษัทเราจ้างคุณจริง ๆ คุณไม่เหมาะกับงานอย่างนู้นอย่างนี้ บลา บลา บลา ดังนั้นคุณเลือกเอารึกันว่าจะลาออกเองแล้วบริษัทจะให้ใบผ่านงาน หรือจะให้บริษัทไล่คุณออก แล้วเสียประวัติการทำงาน โดยสรุปพนักงานท่านนั้นก็เลือกที่จะลาออกเองเพราะเท่าทีฟังดูพนักงานท่านนี้ก็พอจะสังเกตได้ว่านายคนนี้บางทีก็พูดแปลก ๆ กลางที่ประชุม รวมถึงได้มีพนักงานออกก่อนเค้า 2-3 ท่าน ซึ่งก็ถูกนายจ้างคนนี้กระทำคล้าย ๆ กัน จากประสบการณ์ของผม ผมว่านายจ้างคนนี้เค้าลืม (หรือตั้งใจลืม) อะไรไปอย่างรึเปล่าครับ??? ลูกจ้างทำความผิดอะไรถึงมีสิทธิ์ที่จะไล่เค้าออก??? มาดูพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 119 กันครับ มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง

หากไม่ได้ทำผิด นายจ้างไม่มีสิทธิ์ “ไล่เราออก” แต่ “เลิกจ้าง” เราได้ Read More »

การคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีทำงานไม่เต็มเดือน (Prorated Salary)

มีพนักงานหลายท่านทีเดียวครับ โทรมาสอบถามว่าในการคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีที่พนักงานไม่ได้เริ่มงานต้นเดือนเวลาคิดเงินเดือนนั้นตัวหารที่ใช้เนี้ย ถ้าให้ถูกต้องจริง ๆ ต้องหารด้วยจำนวนวันจริง ๆ ในเดือนนั้นหรือหารด้วย 30 เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ผมขอนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 68 มาเป็นบทเทียบเคียงนะครับ มาตรา 68: เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้่างต่อชั่วโมงในวันทำงานหมายถึงค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย เช่นสมมุติว่านางสาวเกรซเริ่มงานที่บริษัท Together ในวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ด้วยเงินเืดือนที่ระบุในสัญญาจ้างคือ 30,000 บาทต่อเดือน และบริษัทให้ค่าสึกหรอรถยนต์ รวมถึงค่าโทรศัพท์ เป็นจำนวนเงิน 9,000 และ 500 บาท ตามลำดับ การที่จะหาเงินได้ก่อนหักค่านู้นนี่ (เงินสมทบประกันสังคม, ภาษีเงินได้ และค่าอื่น  ๆ ) ตัวที่จะนำมาคูณก็คือ จำนวนวันทำงานทั้งหมดในเดือนสิงหาคมหารด้วย 30 ซึ่งในกรณีนี้จะเท่ากับ 27/30 ดังนั้นนางสาวเกรซจะมีเงินเืดือน 27,000 บาท, ค่าสึกหรอรถ 8,100 บาท และค่าโทรศัพท์ 450 บาท

การคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีทำงานไม่เต็มเดือน (Prorated Salary) Read More »

ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องร้อนทีเดียวครับ (ร้อนมาสักพักใหญ่ละ ยังไม่สรุปสักที) เกี่ยวกับอัตราภาษีที่จะใช้ในปีภาษี 2556 ในแง่มุมของประโยชน์ของอัตราใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือนรวมถึงที่มาที่ไปกว่าจะได้อัตราคำนวณใหม่นั้นในแง่การบัญญัติกฎหมายเค้าทำกันอย่างไรครับ เป็นเรื่องที่น่าดีใจเมื่อได้ยินเรื่องการปรับตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2556 (ยื่นภายใน 31 มีนาคม2557) เนื่องจากอัตราภาษีใหม่นั้นมีการถ่างช่วงการคิดภาษีออกซึ่งช่วงที่ถ่างออกจะทำำให้เราเสียภาษีในจำนวนที่ลดลง ขออนุญาตนำรูปมากจาก “บล็อกภาษีข้างถนน” (http://tax.bugnoms.com/) เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นนะครับ เช่น รายได้สุทธิ 150,001-500,000 บาท ของเดิมเสียภาษีทั้งก้อนของเงินในช่วงนี้อยู่ 10% แต่อัตราใหม่ มีการแบ่งช่วง 150,001-300,000 บาท เสียภาษี แค่ 5% และที่เหลือในช่วงเสีย 10% ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลของมนุษย์เงินเดือนรวมถึงคนทำเงินเดือนอย่างข้าพเจ้า 🙂 เป็นต้นว่าเมื่อไหร่เจ้าอัตราภาษีใหม่นี้จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เพราะดูเหมือนว่าความล่าช้าอันนี้มีแต่ก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ถ้าประกาศทันใช้ กรมสรรพกรก็คงทำงานหนักทีเดียวกับการขอคืนภาษีในช่วงยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ประจำปีเนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ยังหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยใช้อัตราเก่าอยู่ ในขณะเดียวกันผมมั่นใจว่ามีหลายบริษัทที่หลงทิศทางไปใช้อัตราใหม่ไปแล้ว หากประกาศไม่ทันใช้ในปีภาษี 2556 ….นึกไม่ออกจริง ๆ ว่าผู้บริหารทั้งหลายที่เงินเดือนเยอะ ๆ แล้วใช้อัตราภาษีใหม่ไปแล้ว แต่สุดท้ายประกาศใช้ไม่ทันจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มอีกเท่าไหร่ 🙁 ความรู้ที่ต้องการมาเล่าสนุก ๆ

ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556 Read More »

หนังสือเตือน….อายุของหนังสือเตือนและความสำคัญ

คราวที่แล้ว พี่สายสมรจากบริษัทจำหน่ายเสื้อชั้นในได้ถามถึงกรณีการออกหนังสือเตือน หรือบางท่านเรียกว่า warning letter ว่าการออกต้องออกอย่างไรแล้วมีความสำคัญอย่างไร วันนี้ ผมขอนำพระราชบัญญัติแรงงาน ฯ ที่เกี่ยวข้อง มาเล่าให้ฟังคร่าว ๆ นะครับ โดยภาพรวมแล้วเรื่องหนังสือเตือนมีความเกี่ยวพันกับเรื่องการเลิกจ้างนะครับ แบบว่าเตือนแล้วเจ้าอย่างทำผิดอีก ดังนั้นข้าเชิญให้เจ้าออกจากงานได้ โดยที่ข้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อกำหนดพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 118 การทำผิดข้อบังคับของบริษัทในกรณีไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องให้โอกาสลูกจ้างปรับปรุงตนเองก่อนโดยการออกเป็นหนังสือเตือน ถ้าหากลูกจ้างยังคงทำผิดซ้ำความผิดเดิมในหนังสือเตือนอยู่ ถึงแม้จะเป็นความผิดเล็กน้อยนายจ้างก็สามารถให้ลูกจ้างออกจากงานได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าจะอ้างอิงกันถึงมาตราก็จะเป็นมาตรา 119 (4) กล่าวไว้ประมาณนี้ครับ “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างทำผิดกฎและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว และหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด”  โดยรายละเอียดของหนังสือเตือนต้องระบุถึงระเบียบหรือข้อบังคับที่ลูกจ้างกระทำผิด รวมถึงข้อควมตักเตือน ลงลายมือชื่อของนายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับหนังสือเตือน มีลูกจ้างบางคนไม่ยอมเซ็นต์ชื่อในหนังสือเตือน สิ่งที่นายจ้างต้องทำก็คืออ่านให้พยานฟัง และให้พยานลงชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย ก็ประมาณนี้นะครับ กฏหมายเค้าก็ดูแลลูกจ้างเป็นอย่างดีครับ ผู้ที่เป็นนายจ้างจะทำอะไรก็ต้องงัดข้อกฎหมายมาปฏิบัติ เพื่อป้องกันข้อฟ้องร้องในภายหลังครับ

หนังสือเตือน….อายุของหนังสือเตือนและความสำคัญ Read More »

เมื่อลูกจ้างขโมยของบริษัทไปขาย แต่นายจ้างไม่ไล่ออก แต่จะหักเงินแทน

คุณพี่สายสมรจากบริษัทจำหน่ายเสื้อชั้นในบริษัทหนึ่งในประเทศไทยโทรมาเพื่อระบายอารมณ์ ในขณะเดียวกันก็ขอคำแนะนำว่า คุณพี่ควรจะทำอย่างไรดีค่ะ เมื่อจับได้ว่าพนักงานแอบขโมยเสื้อชั้นในไปขายในตลาดแบกะดิน จากประสบการณ์ในกรณีนี้เข้าข่ายทุจริต และทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 พี่สายสมรสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 อืม…พี่เองก็ไม่อยากทำลายอนาคตเด็กมันอะนะ เอางี้ ถ้าพี่จะหักเงินเด็กเพื่อเป็นการชดใช้ได้หรือไม่ ผมนึกสักพักแล้วก็นึกถึง พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 76 และ 77 มาตรา 76 มีใจความหลัก ๆ ว่า (หาอ่านมาตรานี้เต็ม ๆ กันเองนะคับ) นายจ้างห้ามหักตังค์ลูกจ้าง ยกเว้นเป็นการหักค่า 1) ภาษีเงินได้ 2) ค่าบำรุงสหภาพแรงงาน 3) ชำระหนี้สหกรณ์ (ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง) 4) เงินประกันค่าชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาท 5) เงินกองทุนสะสม ข้อ 2-5 ห้ามหักเกิน 10% ของแต่ละกรณี และหักรวมกันไม่เกิน 20% ของเงินที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือน (เงินในมาตรา 70) เว้นเสียแต่ว่าได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง มาตรา 77: กล่าวโดยย่อคือ ถ้าจะหักต้งค์

เมื่อลูกจ้างขโมยของบริษัทไปขาย แต่นายจ้างไม่ไล่ออก แต่จะหักเงินแทน Read More »

Team Building ในมุมมองอีกมุมหนึ่งของ HR

…..ด้านที่สามของเหรียญก็คือสันเหรียญ นั่นหมายถึงว่าเราพร้อมที่จะเป็นทั้งหัวและก้อย บางทีไม่พร้อมแต่ก็ต้องเป็นได้ทั้งหัวและก้อยตามสถานการณ์……เห็นผ่าน ๆ จาก FB ผมเห็นว่าเป็นอะไรที่มีความหมายดี… ไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องที่ผมกำลังจะเขียนนะครับ เมื่อไม่นานมานี้น้องอีกบริษัทที่รู้จักชอบพอกันมาบ่นว่า Team building ปีนี้ไปที่เดิมอีกแล้ว แล้วต้องแบกคอมพิวเตอร์ไปทำงานด้วยเซ็งอะพี่ ทำให้ผมระลึกชาติกลับไปได้ประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาบริษัทผมก็มีจัดอะไรทำนองนี้เหมือนกันบางคนเรียก outing บางคนเรียก team building ก็น่าจะเรียกได้ทั้งสองคำอะนะเอาเป็นว่าเป็นกิจกรรมที่บริษัทจะสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นในกลุ่มพนักงานของบริษัท เคยไหมครับที่อยู่ในสถานการณ์ที่ตัวเองไม่อยากไปแต่นายส่งกระแสจิตมาบอกว่าต้องไป แล้วนายก็พูดออกมาว่าเป็น optional ไม่ได้บังคับ !!! เบื้องหน้าเบื้องหลังของเรื่องนี้มันคืออะไรกันแน่ ผมพอจะเห็นมุมของ HR มุมนึงในเรื่องนี้ครับ คือแน่นอนเค้าอยากให้เราไปร่วม ไม่ว่าจะทำให้งานเค้าดูดี หรือทำให้ทีม strong ขึ้นก็แล้วแต่ครับ แต่เหตุที่เค้าไม่ (กล้า) บังคับให้ไปอย่างออกหน้าออกตาส่งจดหมายว่าทุกคนต้องไปอะไรงี้ก็เพราะ ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ขาแข้งหัก ฟันกรามหลุดในระหว่างงานนี้ ถือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในเวลางาน พนักงานจะได้รับเงินค่ารักษาจากกองทุนชดเชย ไม่ใช่ประกันสังคม ซึ่งพอเป็นกองทุนชดเชย การมีพนักงานเบิกเงินค่ารักษาจากกองทุนชดเชยบ่อย ทำให้บริษัทต้องเสียเบี้ยประจำปีที่ต้องสบทบเข้ากองทุนชดเชยมากขึ้นไปด้วย ….พอเห็นภาพนะครับ อีกเรีื่องที่ผมขอแถมให้ด้วยนะครับ เป็นเรื่องที่มีคนถามผมเหมือนกันว่าถ้าเราเดินทางจากบ้านเพื่อไปหาลูกค้าในตอนเช้าหรือกลับบ้านหลังจากไปหาลูกค้าแล้วดันซวยเกิดอุบัติเหตุในช่วงนั้น อันนี้ถือเป็นอุบัติเหตุจากการปฏิบติงานหรือไม่ ศาลท่านวินิจฉัยไว้ว่าถื่อเป็นอุบัติเหตุในหน้าที่นะครับ เงินจากการรักษาตรงนี้ต้องเป็นความรับผิดชอบของกองทุนทดแทนนะครับ ไม่ใช่ประกันสังคม

Team Building ในมุมมองอีกมุมหนึ่งของ HR Read More »

thThai
Scroll to Top