payroll

Woman Writing on a Notebook Beside Teacup and Tablet Computer

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 1

สวัสดีครับ ครั้งที่แล้วได้แชร์ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คงจะทราบแล้วนะครับว่ามีพนักงานเพียงท่านเดียว นายจ้างก็สามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นะครับ คราวนี้มาดูอีกคำถามที่พบบ่อยคือ เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องนำมาเป็นเงินได้พึงประเมินในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ครับ การที่จะตอบคำถามนี้ได้ต้องเข้าใจ 2 เรื่องครับ 1) เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิก 2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เงินอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินที่เกี่ยวข้องก็จะมี 4 ส่วนนะครับ 1) เงินสะสม (ลูกจ้างสะสม) 2) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 1) ไปลงทุน 3) เงินสมทบ (นายจ้างสมทบ) 4) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 3) ไปลงทุน   เงินส่วนที่ 1) และ 2) ปกติพนักงานได้อยู่แล้วนะครับ ถึงแม้พนักงานจะโดนเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความเสียหายให้นายจ้างก็ตาม ส่วนเงินก้อนที่ 3) และ 4) นั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกองทุนครับ เอาเป็นว่าสมมุติได้เงินมา M บาทนะครับ ในกรณีปกติเงินที่เราต้องมารวมคิดภาษีคือเงินก้อนที่ (2), (3) และ (4) [M-(1)] […]

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 1 Read More »

ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องร้อนทีเดียวครับ (ร้อนมาสักพักใหญ่ละ ยังไม่สรุปสักที) เกี่ยวกับอัตราภาษีที่จะใช้ในปีภาษี 2556 ในแง่มุมของประโยชน์ของอัตราใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือนรวมถึงที่มาที่ไปกว่าจะได้อัตราคำนวณใหม่นั้นในแง่การบัญญัติกฎหมายเค้าทำกันอย่างไรครับ เป็นเรื่องที่น่าดีใจเมื่อได้ยินเรื่องการปรับตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2556 (ยื่นภายใน 31 มีนาคม2557) เนื่องจากอัตราภาษีใหม่นั้นมีการถ่างช่วงการคิดภาษีออกซึ่งช่วงที่ถ่างออกจะทำำให้เราเสียภาษีในจำนวนที่ลดลง ขออนุญาตนำรูปมากจาก “บล็อกภาษีข้างถนน” (http://tax.bugnoms.com/) เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นนะครับ เช่น รายได้สุทธิ 150,001-500,000 บาท ของเดิมเสียภาษีทั้งก้อนของเงินในช่วงนี้อยู่ 10% แต่อัตราใหม่ มีการแบ่งช่วง 150,001-300,000 บาท เสียภาษี แค่ 5% และที่เหลือในช่วงเสีย 10% ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลของมนุษย์เงินเดือนรวมถึงคนทำเงินเดือนอย่างข้าพเจ้า 🙂 เป็นต้นว่าเมื่อไหร่เจ้าอัตราภาษีใหม่นี้จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เพราะดูเหมือนว่าความล่าช้าอันนี้มีแต่ก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ถ้าประกาศทันใช้ กรมสรรพกรก็คงทำงานหนักทีเดียวกับการขอคืนภาษีในช่วงยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ประจำปีเนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ยังหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยใช้อัตราเก่าอยู่ ในขณะเดียวกันผมมั่นใจว่ามีหลายบริษัทที่หลงทิศทางไปใช้อัตราใหม่ไปแล้ว หากประกาศไม่ทันใช้ในปีภาษี 2556 ….นึกไม่ออกจริง ๆ ว่าผู้บริหารทั้งหลายที่เงินเดือนเยอะ ๆ แล้วใช้อัตราภาษีใหม่ไปแล้ว แต่สุดท้ายประกาศใช้ไม่ทันจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มอีกเท่าไหร่ 🙁 ความรู้ที่ต้องการมาเล่าสนุก ๆ

ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556 Read More »

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (3)

มาว่ากันต่อในเรื่องสิทธิประโยชน์ของการเป็นผู้ประกันตนกับระบบประกันสังคมของประเทศไทยกันต่อครับ ในมุมของผมเองและลูกจ้างทั้งหลาย เราค่อนข้างคุ้นกับกองทุนประกันสังคมนะครับ ถ้าให้ชัด ๆ ก็คือเงินที่เราต้องจ่ายสมทบทุกเดือน (ฐานเงินเดือนที่ใช้คิดก็คือ 1,650 – 15,000 บาท)  ปี 2556 นี้ผู้ประกันตนและนายจ้างต้องจ่ายสบทบฝ่ายละ 4% ครับ ในส่วนของกองทุนทดแทนเรา  ๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นกันครับจนกว่าจะเกิดเรื่องขึ้นมา เงินกองทุนทดแทนนั้น เป็นเงินที่ทางนายจ้างต้องจ่ายสมทบให้กับกองทุนเงินทดแทนมากน้อยตามความเสี่ยงของธุรกิจ  (ลูกจ้างไม่ต้องสมทบนะครับ) ขอระบุให้ชัด ๆ นิดนึงครับว่าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 นะครับ มาตรา 40 ไว้มีโอกาสผมจะมา touch base ให้อีกทีครับ เห็นเค้าใช้กันแล้วดูดีครับ 555 คำว่า touch base แปลว่าอะไรผมก็ไม่รู้นะครับ ส่วนความแตกต่างของผู้ประกันตนของแต่ละมาตราสามารถดูรายละเอียดจากลิงค์ของผู้รู้ท่านอื่นที่ผมจะแนบไว้ให้ครับ ผมเจอสรุปที่ทางประกันสังคมทำไว้แล้วครับ ขออนุญาตแชร์เลยนะครับ แต่นิดนึงนะครับ ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะไม่มีสิทธิ์ได้รับสิทธิ์ในเรื่องการว่างงานนะครับ จะเห็นว่านอกจากผลประโยชน์ที่จะได้จะเป็นเรื่องที่สำคัญ อีกเรื่องที่สำคัญคือเงื่อนไขเพื่อให้ได้สิทธิ์ประโยชน์นั้น ๆ ครับ เช่น การที่จะได้รับสิทธิ์การค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ผู้ประกันตนนั้นต้องจ่ายเงินสมทบ

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (3) Read More »

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (2)

ก็ตามที่ผมบอกไว้นะครับ วันนี้ผมเอาแบบฟอร์มมาฝากนะครับ มีทั้งหมด 3 แบบฟอร์ม ก่อนที่จะลงรายละเอียดกัน ผมขอทวนข้อกำหนดทางกฎหมายอีกทีครับ ว่าในการแจ้งเข้าพนักงาน ต้องทำการแจ้งภายใน 30 วันหลังจากการจ้างงานวันแรก ในขณะที่การแจ้งออกต้องแจ้งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดมานะครับ แต่อย่างที่ผมบอกครับ บางทีเค้ารับฟอร์มที่เราเอาไปยื่นเค้าก็ไม่ได้ทำการบันทึกเข้าระบบในทันทีครับ โอเคมาดูวัตถุประสงค์การใช้ฟอร์มกันดีกว่าครับ สปส 1-03 ใช้กับพนักงานที่ยังไม่เคยมีบัตรประกันสังคมมาก่อนครับ จะเข้าระบบประกันสังคมก็ต้องกรอกฟอร์มนี้ครับ   สปส 1-03/1 ใช้กับพนักงานที่เคยมีบัตรประกันสังคมแล้ว หลัก ๆ แล้วก็กรอกหมายเลขบัตรประจำประชาชน, ชื่อและวัน เดือน ปี เข้าทำงานให้ถูกครับ ส่วนอีก 2 ช่องทางขวา ทางประกันสังคมเค้าไม่ค่อย strict ครับ ไม่ต้องกรอกก็ได้   สปส 6-09 ใช้กับพนักงานที่ลาออกจากบริษัท  แจ้งภายในวันที่ 15 ชองเดือนถัดไปครับ  ฟอร์มนี้ข้อมูลที่สำคัญในการกรอกคือสาเหตุของการลาออกครับ ต้องเลือกว่าเป็น 1,2,…7 ผมเคยโดนตีกลับด้วยครับ ลืมเลือกให้พนักงาน ใบรับแบบ อันนี้สำคัญสุด เมื่อไปยื่นเอกสารอะไรให้ทางประกันสังคมอย่าลืมทวงไปรับแบบนะครับ เพราะเราจะเห็นว่าข้อมุลไม่ได้ถูกบันทึกไว้ทันทีครับ

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (2) Read More »

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน

จำไม่ได้แล้วเหมือนกันว่าผมเริ่มงานเกี่ยวกับการทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือนเมื่อไหร่ แต่ที่ผมรู้สึกได้ก็คืองานนี้เป็นงานที่สนุกแล้วก็ได้ความรู้ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งความรู้นั้นก็คือความรู้เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้, ประกันสังคม รวมถึงกฏหมายแรงงาน ผมมีความรู้เป็นศูนย์ แถมติดลบด้วยซ้ำไปเพราะผมมีลักษณะเหมือนหลาย ๆ คนคือ ได้ payslip มาไม่เคยเปิดดู, ภาษีก็ให้แฟนยื่นให้ 555 ผมเลยมึนอย่างเปิดเผยในการทำงานวันแรก วันนี้ผมขอแชร์ประสบการณืเกี่ยวกับประกันสังคมรึกันนะ ผมเพิ่งรู้ว่า ตามกฏของประกันสังคมนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องจดทะเบียนนายจ้างและต้องแจ้งลูกจ้างคนนั้นให้เป็นผู้ประกันตนภายใต้บริษัทภายใน 30 วันหลังจากลูกจ้างเริ่มงานวันแรก ปัญหามันมีอยู่ว่า บางทีกว่าจะขึ้นทะเบียนนายจ้างเสร็จก็เกิน 30 วันเข้าไปแล้ว ทำไงดีหละ วิธีที่ผมเค้าทำกันก็คือ ทำจดหมายขอผ่อนผันกับประกันสังคม เพื่อจะได้ไม่โดนปรับจากการขึ้นทะเบียนลูกจ้างไม่ทัน 30 วันหลังจากวันเริ่มทำงานวันแรก  แต่อันนี้เท่าที่นายแอบมึนเห็นก็คือเมื่อเราแจ้งเข้า หรือแจ้งออกพนักงาน ทางประกันสังคมเค้าไม่ได้นำข้อมูลเข้าระบบทันที  ซึ่งมันก็มีข้อดีตรงที่ว่าเค้าก็ไม่ค่อยปรับนะ กรณีแจ้งเกิน 30 วันเพราะบางที่ที่มันเกินกำหนดก็เพราะทางเค้านำข้อมูลเข้าระบบไม่ทัน เมื่อดีลงานกับราชการ แบบฟอร์มเป็นเรื่องสำคัญ บางที่ทำแบบฟอร์มของเราไปเองรูปร่างหน้าตาคล้ายฟอร์มของประกันสังคมเป๊ะ โดนเด้งกลับก็มี เช่นใบมอบอำนาจเป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ใช้ฟอร์มที่เค้าให้มาดีกว่า ในเรื่องการแจ้งเข้าพนักงานนั้น แบบฟอร์มที่ใช้คือ สปส 1-03 หรือ สปส 1-03/1 สำหรับการแจ้งออกมีฟอร์มเดียวคือ สปส

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน Read More »

thThai
Scroll to Top