ไล่ออก

หากไม่ได้ทำผิด นายจ้างไม่มีสิทธิ์ “ไล่เราออก” แต่ “เลิกจ้าง” เราได้

เพื่อนที่ทำงานเก่า ได้เล่าเรื่องในสถานที่ทำงานของเค้าให้ฟังว่า มีอยู่วันหนึ่งนายของเค้าได้เรียกพนักงานท่านหนึ่งเข้าไปในห้องแล้วยื่นเอกสารให้ 2 ฉบับ ใช่ครับเป็นอย่างที่ทุกท่านคิดครับ ฉบับแรกคือ จดหมายรับรองการทำงาน ฉบับที่สองคือจดหมายไล่ออก…..พวกเราหากไม่เคยอยู่ในสถานการณ์นี้ และยิ่งหากไม่ได้ศึกษาเรื่องกฎหมายแรงงาน ผมว่าเราตั้งตัวกันไม่ติดเหมือนกันนะครับ ลองมาดูกันครับ เราควรทำอย่างไรหากคน ๆ นั้นเป็นเราเอง เจ้านายเริ่มพูดว่า ดิฉันก็จ้างคุณมาค่าตัวแพงอยู่นะ แต่ผลงานคุณมันไม่คุ้มกับเงินที่บริษัทเราจ้างคุณจริง ๆ คุณไม่เหมาะกับงานอย่างนู้นอย่างนี้ บลา บลา บลา ดังนั้นคุณเลือกเอารึกันว่าจะลาออกเองแล้วบริษัทจะให้ใบผ่านงาน หรือจะให้บริษัทไล่คุณออก แล้วเสียประวัติการทำงาน โดยสรุปพนักงานท่านนั้นก็เลือกที่จะลาออกเองเพราะเท่าทีฟังดูพนักงานท่านนี้ก็พอจะสังเกตได้ว่านายคนนี้บางทีก็พูดแปลก ๆ กลางที่ประชุม รวมถึงได้มีพนักงานออกก่อนเค้า 2-3 ท่าน ซึ่งก็ถูกนายจ้างคนนี้กระทำคล้าย ๆ กัน จากประสบการณ์ของผม ผมว่านายจ้างคนนี้เค้าลืม (หรือตั้งใจลืม) อะไรไปอย่างรึเปล่าครับ??? ลูกจ้างทำความผิดอะไรถึงมีสิทธิ์ที่จะไล่เค้าออก??? มาดูพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 119 กันครับ มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง […]

หากไม่ได้ทำผิด นายจ้างไม่มีสิทธิ์ “ไล่เราออก” แต่ “เลิกจ้าง” เราได้ Read More »

สิทธิ์จากประกันสังคมเนื่องจากการว่างานและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

ระหว่างกำลังจัดเตรียมข้อมูลการออกเงินเดือนให้พนักงาน ก็ได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนที่อยู่ในแวดวง HR ถามว่าทำอย่างไรดี ถ้าแจ้งเหตุผลการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนในแบบฟอร์ม  สปส 6-09 ผิด ผมจึงถามต่อว่าแล้วเอรู้ได้ไงว่าแจ้งผิดอะ เอบอกกว่า พนักงานจะไปขอใช้สิทธิ์กรณีว่างานจากทางประกันสังคมแต่ไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากในระบบแจ้งว่า ตอนส่งแบบฟอร์ม เหตุผลการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนคือ “ไล่ออก/ปลดออก/ให้ออก เนื่องจากกระทำความผิด” แทนที่จะเป็น “เลิกจ้าง”  (ใครจำฟอร์มไม่ได้ลอง google โหลดดูได้ครับ) สิทธิ์การว่างานจะใช้ได้เมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลาโดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย ผมจึงถามคร่าว ๆ ว่าผิดได้อย่างไรเพื่อที่จะป้องกันการเกิดเหตุอย่างนี้อีก ปรากฏว่าเป็น Human error ไม่ได้เป็นความผิดอะไรที่ระบบ ดังนั้นใครมีหน้าที่แจ้งเข้า/ออก แต่ละบริษัทก็เลือกกันให้ถูก คุยกันให้ชัดกับ Line manager หรือคนที่มีหน้าที่ตัดสินใจเอาคนออกนะครับ จะได้ไม่เกิดความผิดพลาดอีก คราวนี้วิธีแก้ที่ได้ปรึกษากับทางประกันสังคมคือ ให้นายจ้างทำหนังสือชี้แจงยื่นกับสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ที่รับผิดชอบของสถานประกอบการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการแก้ไขข้อมูลให้ ย้ำนะครับ ประกันสังคมเขตพื้นที่ ที่รับผิดชอบของบริษัทนะครับ จะไปเขตอื่นไม่ได้นะครับ  หนังสือชี้แจงก็ชี้แจงให้ทางประกันสังคมเข้าใจ แล้วถ้าให้ดีนะครับ ทำฟอร์มแจ้งออกตัวที่ถูกต้องแนบไปด้วยนะครับ ส่วนสิทธิกรณีว่างาน จะได้สิทธิ์นี้นอกจากเงื่อนไขข้างต้น ก็มีเงื่อนไขอีกพอสมควรเลยครับ เช่นต้องส่งเงินสมทบ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานและต้องขึ้นทะเบียนว่างานภายใน 30

สิทธิ์จากประกันสังคมเนื่องจากการว่างานและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น Read More »

thThai
Scroll to Top